วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หน้าแรก


พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทย

           ปลาน้ำจืด (อังกฤษ: Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่างๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความหมายของปลา

        
ความหมายของปลา






           ปลาเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังมีเกล็ดและไม่มีเกล็ด และหายใจทางเหงือก ปลาอาศัยอยู่ในน้ำอุณหภูมิของตัวปลาเปลี่ยนได้ตามอุณหภูมิของน้ำที่มันอาศัยอยู่นักวิทยาศาสตร์จึงจัดปลาไว้ในกลุ่มสัตว์เลือดเย็นในบรรดาสัตว์มีกระดูกสันหลัง ปลามีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ มีอยู่ประมาณ ๒๐,๐๐๐ ชนิด สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ ที่มีจำนวนชนิดรองไปจากปลา ได้แก่ นก สัตว์ เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก ปลาต่างชนิดกันมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไป ขนาดของปลาอาจเล็กใหญ่ผิดกันไปได้ตั้งแต่ ๑.๒ เซนติเมตร จนถึง ๒๒ เมตร ปลาส่วนใหญ่มีรูปร่างเพรียว หัวแหลมท้ายแหลมที่มีรูปร่างเป็นอย่างอื่นก็มีอยู่อีกเป็นจำนวนมาก

   

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมงน้ำจืดในประเทศไทย


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมงน้ำจืดในประเทศไทย

                      ประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในโซนร้อน มีอากาศที่ค่อนข้างร้อน และ อุณหภูมิของน้ำที่ค่อนข้างสูงเกือบตลอดทั้งปี เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ได้อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้นฝนซึ่งเกิดจากฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นลมที่มีความหนาวเย็นและพัดมาจากประเทศจีนตอนเหนือ และ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดผ่านทะเลมา จะนำเอาความชื้นและฝน มาสู่ประเทศไทยสลับกันไปเป็นฤดูกาล เมื่อฝนตกสู่พื้นดินไหลซะเอาปุ๋ยและเกลือแร่ต่าง ๆ จากทางภาคเหนือลงแม่น้ำ ปิง วัง ยม น่าน รวมกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำเพชรบุรี แล้วไหลลงมาสู่บริเวณ ก้นอ่าวไทย ทำให้แม่น้ำต่างๆในประเทศไทย และ บริเวณอ่าวไทยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำน้อยใหญ่นานาชนิด
ประเทศไทยมีย่านน้ำที่จัดว่ามีความสำคัญ อยู่สองลักษณะก็คือ ย่านน้ำจืด และ ย่านน้ำเค็ม , ย่านน้ำจืดนั้นก็ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง บึง บาง และ หนองต่างๆ ที่มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ บึงและหนองขนาดใหญ่ซึ่งมีความสำคัญของไทยในสมัยปัจจุบัน คือ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา หนองหาร จังหวัดสกลนคร หนองหลวง จังหวัดเชียงราย ห้วยละหาน จังหวัดชัยภูมิ และ ทะเลสาบสงขลา อันเป็นทะเลสาบน้ำเค็ม กึ่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ขนาดของบึงธรรมชาติ และ ทะเลสาบที่สำคัญ ๆ ของประเทศไทย
1. ทะเลสาปสงขลา จังหวัดสงขลาและพัทลุง
ชนิดของน้ำเป็น น้ำจืดและน้ำกร่อย
เนื้อที่ (ไร่ ) 616,000
เฉลี่ยความลึก 1.0 เมตร

2. บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
ชนิดของน้ำเป็น น้ำจืด
เนื้อที่ (ไร่ ) 132,000
เฉลี่ยความลึก 1.5 เมตร

3. กว้านพะเยา จังหวัด พะเยา
ชนิดของน้ำเป็น น้ำจืด
เนื้อที่ (ไร่ ) 10,600
เฉลี่ยความลึก 1.0 เมตร

4. หนองหาร จังหวัดสกลนคร
ชนิดของน้ำเป็น น้ำจืด
เนื้อที่ (ไร่ ) 46.000
เฉลี่ยความลึก 0.75 เมตร

5. หนองหลวง จังหวัด เชียงราย
ชนิดของน้ำเป็น น้ำจืด
เนื้อที่ (ไร่ ) 5,000
เฉลี่ยความลึก 1.0 เมตร

6. ห้วยละหาน จังหวัด ชัยภูมิ
ชนิดของน้ำเป็น น้ำจืด
เนื้อที่ (ไร่ ) 18,000
เฉลี่ยความลึก 0.50 เมตร

                นอกจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ยังมีอ่างเก็บน้ำที่ได้จัดสร้างขึ้น เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า และ การชลประทานเพื่อการเกษตรทั่วราชอาณาจักร เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนบางลาง เขื่อนวชิราลงกรณ์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำที่สำคัญ ๆ จำนวนมาก ส่วนมากไหลลงสู่อ่าวไทย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง เป็นต้น มีแม่น้ำทางภาคอีสานไหลลงสู่แม่น้ำโขง เช่น แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเลอันดามัน ที่สำคัญคือ แม่น้ำตรัง และ แม่น้ำปากจั่น อันเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า อาณาบริเวณที่ติดต่อกับแม่น้ำ ยังมีลำคลอง ลำประโดง แตกแยกสาขาต่างๆ ออกไปเป็นจำนวนมาก ลำน้ำเหล่านี้ล้วนเป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำจืดนานาชนิด
ในส่วนของการทำประมงน้ำจืดนั้น เรือที่ใช้ในการทำประมงน้ำจืดที่ใช้อยู่ทั่วไปในการจับสัตว์น้ำในย่านน้ำจืดระยะแรกๆ มักจะเป็นเรือขุดขนาดเล็กที่ใช้พายเรือแจว ยังไม่มีเรือประมงที่ใช้ใบ ต่อมาเมื่อมีวิวัฒนาการ ขึ้นแล้ว จึงเริ่มใช้ยอหรือสวิงที่ติดตั้งไว้ กับเรือซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเดิม เพื่อใช้ในการช้อนงัดบรรดาพันธุ์ปลาซึ่งอาศัยอยู่ตามบริวณผิวน้ำ นอกจากนั้นก็มีการสร้างวัสดุเพื่อล่อให้ปลาเข้ามาพักอาศัย เช่น กร่ำ แล้วใช้อวนลงล้อมจับปลาที่มาอาศัยอยู่ในกร่ำอีกครั้งหนึ่ง
                ในสมัยก่อนคนไทยยังไม่มีการสร้างเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเกษตรกรรม อย่างเช่นประเทศเราในปัจจุบันนี้ เมื่อฝนตกน้ำได้ไหลบ่าหลากท่วมท้นไปในที่ลุ่มทุกหนแห่ง ทำให้ปลาได้มีโอกาสเดินทางออกไปในสถานที่น้ำท่วมเหล่านั้น เพื่อแสวงหาอาหารและขยายพืชพันธุ์ ต่อเมื่อน้ำได้ลดลงปลาก็จะพากันมารวมตัวกันอยู่ในบริเวณหนอง บึง บาง ทำให้เกิดการจับสัตว์น้ำขึ้นมา ดังนั้นในฤดูน้ำไหลหลากซึ่งเรียกกันว่า ฤดูน้ำแดง กรมประมงจึงได้มีการประกาศห้ามทำการจับสัตว์น้ำ เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปลาให้มีโอกาศได้แพร่ขยายพันธุ์ต่อไป.
                    เครื่องมือการทำประมงในย่านน้ำจืดนั้น ไม่ใคร่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะหนองน้ำ และ บึง ต่าง ๆ เริ่มตื้นเขิน และ มีจำนวนลดลง การใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และ ยาปราบวัชพืช เพื่อการเกษตรก็มีส่วนทำให้เผ่าพันธุ์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติของประเทศไทยหลายๆชนิด ต้องสูญสิ้นไป นอกจากนั้นแล้วการสร้างเขื่อนต่างๆ ก็นับเป็นสาเหตุใหญ่ซึ่งทำให้ปุ๋ยเกลือแร่ที่เคยมีตามธรรมชาติเหือดแห้งสูญหายไป เขื่อนต่างๆ ที่เก็บกักน้ำไว้ก็ไม่มีบันไดปลาโจนให้สัตว์น้ำได้มีโอกาสขึ้นล่องได้เหมือนอย่างแต่ก่อน ผลที่มีตามมาคือ บรรดากุ้งกร้ามกราม และ ปลาที่มีราคาอื่นๆ เช่น ปลากะโห้ ปลาตะลุมพุก แทบจะต้องสูญพันธุ์ไป.
                  สิ่งที่นับว่าเป็นภัยมากที่สุดก็คือการใช้เครื่องมือและวิธีการทำการประมงที่มีภยัยอันตรายร้ายแรงผิดกฏหมาย เช่น ระเบิดปลาและช๊อตไฟฟ้าในย่านน้ำจืด รวมทั้งในส่วนที่เป็นชายฝั่งทะเลทุกแห่ง นอกจากนี้ยังมีการใช้ยาเบื่อเมาทำลายพืชพันธุ์ของสัตว์น้ำอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการเพิ่มผลผลิตด้วยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยรูปแบบและกรรมวิธีต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น กรมประมงได้จัดตั้งสถานีประมง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการเพิ่มปริมาณลูกสัตว์น้ำไว้แจกจ่าย และ ปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ อีกทั้งในภาคเอกชน ก็ยังมีผู้ให้ความสนใจ และ ให้การสนับสนุนนโยบายของกรมประมงมากขึ้นเป็นลำดับ นับว่าเป็นกุศลเจตนาที่ควรแก่การสรรเสริญ อันจะยังผลให้แผ่นดินของประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหารสืบไป. ( สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ ,2545 )

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความหลากหลายของปลาน้ำจืดในประเทศไทย


ความหลากหลายของปลาน้ำจืดในประเทศไทย 
วงศ์ปลาฉนาก ( Family Pristidae )
เป็นปลากระดูกอ่อนที่มีลักษณะเด่นคือ มีจงอยปากยาวยื่น และมีฟันเลื่อย แหลมคมอยู่ 2 ด้านข้าง ส่วนหัวและ อกแบบนราบเล็กน้อย ตาเล็กมีช่องน้ำอยู่หลังตา ปากเล็กอยู่ด้านล่าง มีฟันเป็นเม็ดแข็งใช้ขบหอย ปู ที่เปลือกแข็งได้ และยังใช้จะงอยปากในการฟาดปลาที่เป็นเหยื่อและต่อสู้ศัตรู มีรูปร่างคล้ายปลาฉลามแต่มีครีบอกที่แผ่กว้างติดต่อกับส่วนหัว ช่องเหงือกอยู่ด้านล่างของลำตัวเช่นเดียวกับปลากระเบน ครีบหลัง 2 อัน มีปลายเรียวโค้งขนาดเท่าๆกัน ไม่มีครีบก้น ครีบหางบนยาวกว่าซีกล่าง ชนิดที่เคยมีรายงานพบในบึงบอระเพ็ดเพียงครั้งเดียวคือ ปลาฉนากจะงอยกว้าง Pristis microdon ซึ่งปกติเป็นปลาทะเล แต่ก็พบเข้ามาอยู่ในน้ำจืดเป็นบางครั้ง ปลาฉนากเคยพบเป็นครั้งคราวในแม่น้ำเจ้าพระยา และ แม่น้ำสายอื่นๆ ตอนล่าง และ พบบ่อยในทะเล ชายฝั่งของเขตอินโด แปซิฟิค แต่ปัจจุบันเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ และ ไม่พบมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี แล้ว ในน่านน้ำไทย เนื่องจากถูกล่า และมลภาวะในแม่น้ำ
วงศ์ปลากระเบน ( Family Dasyatidae )
เป็นปลากระดูกอ่อนที่พบได้ทั้งในทะเลและในน้ำจืด มีรูปร่างที่แบนราบ มีส่วนครีบอกที่แผ่กว้างกลมรอบตัว ปากอยู่ด้านล่าง ตาอยู่ด้านบนมีช่องน้ำเข้า 1 คู่ อยู่ด้านหลัง ปลากระเบนมีส่วนหางที่เป็นเส้นยาว ที่โคนหางมีเงี่ยงอยู่ 1-2 อัน เป็นอาวุธที่สำคัญของมัน เพราะมีพิษแรงเมื่อแทงเข้าไปในเนื้อศัตรูรวมถึงคนที่จับมันโดยไม่ระมัดระวังด้วย ผิวหนังปลากระเบนเรียบนิ่มไม่มีเกล็ด ยกเว้นบริเวณกลางหลัง ปลากระเบนมีขากรรไกร และ ฟันที่แข็งแรงใช้บดขบสัตว์เปลีอกแข็งได้ดี มักอาศัยอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำแต่ก็ว่ายขึ้นมาหากินบนผิวน้ำได้ ในประเทศไทยพบปลากระเบนน้ำจืด ชนิดต่างๆ เช่น ราหูน้ำจืด และ กระเบนขาว
วงศ์ปลากราย
เป็นปลาที่ค่อนข้างโบราณ เพราะมีลักษณะคล้ายกับปลาดึกดำบรรพ์ ที่สูญพันธ์ไปแล้วบางชนิด มีรูปร่างแบนข้างมาก เรียวไปทางด้านท้าย ครีบหลังอันเล็ก ครีบก้นและครีบหางยาวติดต่อกัน มันจึงใช้ครีบก้นอันยาวนี้โบกพริ้วในการว่ายน้ำ ครีบท้องเล็กมาก ปากกว้าง มีเกล็ดเล็กละเอียด เวลาวางไข่ตัวผู้ และ ตัวเมียช่วยกันดูแล โดยวางไข่ติดกับตอไม้ แล้วจะเลี้ยงลูกจนเติบโต พอที่จะช่วยตนเองได้จึงปล่อยไป เป็นปลากินเนื้อ ที่เคยพบในประเทศไทยเช่น ปลาสลาด , ปลากราย , ปลาสะตือ
วงศ์ปลาตูหนา ( Family Anguillidae ) หรือ ปลาไหลทะเล
เป็นปลาไหลแท้ที่มีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งต้องออกไปวางไข่ในทะเลลึก แล้วตัวอ่อนจึงล่องลอยกลับมาเลี้ยงตัวที่ชายฝั่งก่อนเข้ามาเติบโตในน้ำจืดที่ไกลจากทะเลนับร้อยกิโลเมตร ปลาตูหนามีปากกว้าง มีเขี้ยวเล็กละเอียดบนขากรรไกร ครีบอกเป็นรูปกลมรี มีครีบหลังยาวติดต่อกับครีบหางที่มน และ ครีบก้นที่ยาว แม้ดูเผินๆ ว่าไม่มีเกล็ดมีเมือกลื่นหุ้มตัว แต่ที่จริงมันก็มีเกล็ดขนาดเล็กมากเรียงซ้อนฝังอยู่ใต้ผิว เป็นปลานักล่าเหยื่ออีกชนิดหนึ่งที่สามารถจับกุ้ง ปู เปลือกแข็งกินได้ รวมถึงปลาชนิดต่างๆ มักอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ใส มีตอไม้ โพรงไม้ หรือซอกหินอยู่มาก มันอาจขุดรูอยู่ได้เช่นกัน นอกจากบริเวณปากแม่น้ำแล้ว เคยพบขึ้นไปสูงถึงบริเวณน้ำตก ลำธารบนภูเขาในประเทศไทย พบปลาวงศ์นี้ในภาคใต้และภาคตะวันตกขึ้นไปถึง จ.แม่ฮ่องสอน และ แม่น้ำโขง ถึง จ.เลย
วงศ์ปลาแมว ( Family Engraulididae )
มีรูปร่างยาว ส่วนหัวโต ปากกว้าง เฉียงลง มีกระดูกขากรรไกรบนยาวยื่นออกไปทางด้านท้ายเป็นแผ่นแบน เรียว มักมีฟันเล็กแหลม ลำตัวแบนข้างมาก ครีบหลังเล็ก ครีบก้นยาว ครีบหางเว้าแฉกหรือปลายแหลม เกล็ดบางหลุดร่วงง่าย ส่วนมากเป็นปลาทะเล รู้จักกันดีได้แก่ พวกปลากะตัก และ ปลาแมว ( Anchovy ) ในน้ำจืดของไทย พบ 4 ชนิด
วงศ์ปลาหลังเขียว
มีลักษณะที่สำคัญคือ มีลำตัวแบนข้าง ริมฝีปากบนเป็นแผ่นกระดูกบาง ปากอยู่ตอนปลายสุดของหัวเป็นส่วนมาก มีฟันซี่เล็กและละเอียด หรืออาจไม่มีในบางชนิดมีเกล็ดบางแบบขอบเรียบ ปกคลุมทั่วตัว ครีบมีขนาดเล็ก ไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางมักเว้าลึก ส่วนมากมักมีเกล็ดที่ด้านท้องเป็นสันคม มักมีสีตัวเป็นสีเงิน และ สีด้านหลังเป็นสีเขียวเรื่อ จึงเป็นที่มาของชื่อ อาศัยในทะเลเป็นส่วนมากแต่ก็พบในน้ำจืดหลายชนิด ที่พบในน้ำจืดของไทยมี 6 ชนิด
วงศ์ปลาตะเพียน , สร้อย และ ซิว
เป็นวงศ์ที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และ มีความหลากชนิดเป็นอันดับสามของวงศ์ปลาในโลก มีลักษณะสำคัญคือ ไม่มีฟันที่ริมฝีปาก แต่มีฟันซี่ใหญ่อยู่ในลำคอ เกล็ดเป็นแบบขอบเรียบ , บาง ครีบเป็นก้านครีบอ่อน ครีบหางเป็นแฉกเว้าส่วนมาก ครีบท้องตั้งอยู่ค่อนมาตอนกลางของลำตัวด้านท้อง รูปร่างลำตัวมักแบนข้าง หรือเป็นแบบปลาตะเพียนที่เรารู้จักดี แต่ก็มีบางชนิดลำตัวค่อนข้างกลมอาศัยเฉพาะในน้ำจืด เป็นปลาที่กินพืชโดยส่วนมาก แต่ก็พบหลายชนิดกินเนื้อ หรือ แพลงค์ตอน ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกันมาก พบในเขตร้อน , เขตอบอุ่น และ เขตหนาวเกือบทั่วโลก ยกเว้นขั้วโลก ออสเตรเลีย และ อเมริกาใต้ ในประเทศไทยชนิดที่เคยพบเช่น แปบควาย , แปบ , ซิวอ้าว ,ปลาฟักพร้า ฯลฯ
วงศ์ปลาหมู
มีลักษณะสำคัญคือบริเวณใต้ตา มีกระดูกเป็นหนามโค้งพับซ่อนอยู่ข้างละ 1 อัน ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นแหลม ปากเล็กอาจมีติ่งรอบริมฝีปาก มีหนวดสั้นๆ 3 คู่ ครีบหลังสั้นๆ ครีบอื่นๆ มีขนาดเล็ก ลำตัวเรียวยาวและแบนข้าง ครีบหางเว้าหรือเว้าลึก ผิวหนังมีเกล็ดขนาดเล็กมากผังอยู่จึงไม่สามารถสังเกตุได้ด้วยตาเปล่าและมีเมือกลื่นคลุมลำตัว ปลาในวงศ์นี้ไม่มีฟันที่ลำคอและที่ขากรรไกร มักอาศัยอยู่บริเวณที่มีน้ำไหลแรง อยู่ในระดับพื้นท้องน้ำ หรือ บริเวณใกล้ซอกหิน , โพรงไม้โดยพบเป็นฝูงใหญ่ อาหารส่วนใหญ่เป็นสัตว์เล็ก ฯ ที่อยู่ในดินโคลนใต้น้ำ และ ซากสัตว์ พบในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 3 ชนิด
วงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้ง
มีลักษณะคล้ายปลาสร้อยธรรมดา แต่ลำตัวเรียวทรงกระบอก แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก และมีลักษณะสำคัญ คือมีช่องเล็ก ๆ อยู่ด้านบนสุดของช่องเหงือก ริมฝีปาก มีลักษณะเป็นแผ่นดูดรูปกลมใช้ดูดกินตะไคร่น้ำตามพื้นหิน และ ทราย แล้วหายใจโดยใช้น้ำผ่านเข้าช่องเปิดด้านบนฝาปิดเหงือก แล้วออกมาทางด้านข้าง แทนที่จะใช้ปากสูบน้ำเข้าอย่างปลาทั่วๆ ไป พบในประเทศไทย 2 ชนิด เช่น สร้อยน้ำผึ้ง , เทศบาล
วงศ์ปลากด , แขยง ( Family Bagridae )
เป็นปลาหนังที่ไม่มีเกล็ด มีส่วนหัวค่อนข้างแบนราบ แต่ลำตัวแบนข้างไปทางด้านท้าย ปากกว้างอยู่ที่ปลายสุดของจะงอยปาก มีฟันที่เป็นซี่เล็ก แหลม ขึ้นเป็นแถบบน ขากรรไกร และ เพดาน มีหนวด 4 คู่ โดยคู่ที่อยู่ริมฝีปากจะยาวที่สุด ครีบหลังและ ครีบอกเป็นก้านแข็ง หรือเรียกว่าเงี่ยงเป็นส่วนมาก ครีบไขมันค่อนข้างยาว ครีบก้นสั้น ครีบท้องค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าแฉก ในตัวผู้มักมีติ่งเล็กๆ ที่ช่องก้น เป็นปลาหนังวงศ์ ที่พบมากชนิดที่สุดของไทย มากกว่า 25 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ตั้งแต่แมลง สัตว์น้ำอื่นๆ ปลา และ กินซากสัตว์ ชนิดที่เคยพบเช่น แขยงหิน , แขยงข้างลาย , แขยงใบข้าว ฯลฯ
วงศ์ ปลาดุกมูน
มีส่วนหัวสั้น และ จะงอยปากเล็ก ตาเล็กมาก มีหนวดสั้น 4 คู่ คู่ที่อยู่ด้านล่างจะเป็นเส้นแบบบิดเป็นเกลียว ริมฝีปากเล็กเป็นจีบ ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ส่วนหลังยกสูง ครีบหลังสั้น ครีบไขมันยาวมาก ครีบหางเว้าลึก ครีบหลัง และ ครีบอกเป็นก้านแข้งปลายคม ตัวมีสีคล้ำ หรือ น้ำตาลอ่อน ด้านท้องสีจาง ในปลาเป็นๆ อาจมีแถบขวางลำตัว แนวเฉียงเป็นสีจางๆ ครีบสีจาง ครีบหางใส ขนาดพบใหญ่สุด 25 ซม. พบทั่วไป 10 –15 ซม. จับได้โดยเบ็ดราว , ข่ายลอย , ตุ้ม , ลอบ พบในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยา , บางปะกง และ แม่น้ำโขง
วงศ์ปลากดอเมริกัน
อยู่ในวงศ์ Ictaluridae เป็นปลาพื้นเมืองของทวีปอเมริกาเหนือ ถูกนำเข้าไปเลี้ยงในประเทศเขตอบอุ่นหลายแห่ง เช่น ในแคนาดา ทวีปยุโรป ญี่ปุ่น ในประเทศไทยได้นำเข้ามา ทดลองเลี้ยง ประมาณปี 2532 มีลักษณะดูคล้ายกับปลากด และ ปลาสวายรวมกัน คือ มีส่วนหัวใหญ่ ปากกว้าง มีหนวด 4 คู่ คู่ที่จมูกสั้น คู่ที่ริมฝีปาก และ คางยาวลำตัวเรียว และ แบนข้างที่ส่วนท้าย มีเงี่ยงที่ครีบหลัง และ ครีบอก ครีบไขมันเล็กและสั้นครีบก้นยาว ครีบหางเว้าลึก
ตัวมีสีเทา อมน้ำตาล หรือ เหลือง ด้านท้องสีจาง มีประสีคล้ำ หรือดำอยู่กระจายห่างๆ ในปลาขนาดเล็กกว่า 20 ซม. ครีบมีสีคล้ำ พบขนาดใหญ่สุด 1.2 ม. แต่ทั่วไป 40 – 50 ซม. มีการกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ และ แคนาดาตอนใต้ ในประเทศไทยมีการเลี้ยงกันมากที่ จ. นครสวรรค์ และพบหลุดมาในแหล่งน้ำธรรมชาติ และจับมาขายในตลาดหลังน้ำท่วมปี 2538
วงศ์ปลาเนื้ออ่อน ( Family Siluridae )
เป็นปลาหนังที่มีรูปร่างเพรียว,ยาว และ ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนหัวมักแบนราบ หรือ แบนข้างในบางชนิด ปากกว้าง มีฟันซี่เล็ก , แหลม ขึ้นบนขากรรไกร และ เป็นแผ่นบนเพดาน มีหนวด 2-3 คู่ ครีบก้นยาวมากกว่า ครึ่งหนึ่ง ของความยาวลำตัวไม่มีครีบไขมัน ครีบหลังมักอันเล็กมาก หรือไม่มี ครีบท้องเล็ก วางไข่แบบจมติดกับวัสดุ เป็นปลากินเนื้อ เช่นแมลง ปลาเล็ก กุ้ง และ สัตว์หน้าดินต่างๆ เป็นวงศ์ของปลาหนังที่มีการกระจายพันธุ์กว้าง ตั้งแต่ยุโรป,เอเซียตอนบน,อินเดีย ถึงอินโดนีเซีย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญของแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย พบในไทยราว 30 ชนิด และอย่างน้อย 7 ชนิด พบบ่อยในท้องตลาด บางชนิดเป็นปลาสวยงามที่มีชื่อเช่น ปลาก้างหระร่วง , คางเบือน , แดงไท ฯลฯ
วงศ์ปลาหวีเกศ
ลักษณะสำคัญคือ มีหนวด 3-4 คู่ มีร่องเก็บของแต่ละเส้นที่จะงอยปากข้างแก้ม และ ใต้คาง รูจมูกช่องหลังมักใหญ่กว่าช่องหน้า และ อยู่ชิดกัน ครีบอก และ ครีบหลัง มีก้านครีบแข็ง ครีบไขมันมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาว ลำตัวมักแบนข้าง มีการกระจายพันธุ์ ตั้งแต่ ทวีป แอฟริกา อินเดีย เอเซียอาคเนย์ และ เขตซุนดา ที่พบในไทย มี 4 สกุล 5 ชนิด เช่น สังกะวาดขาว และ หวีเกศ
วงศ์ปลาสวาย , สังกะวาด ( Family Pangasiidae )
รูปร่างเพรียวส่วนท้องใหญ่ ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวโต ตาโต มีหนวดเพียง 2 คู่ รูจมูกช่องหน้า และ หลังมีขนาดเท่าๆกัน มีครีบไขมันเล็ก ครีบท้องเล็ก ฐานครีบก้นยาว กระเพาะมีขนาดใหญ่รูปรียาว มี 1-4 ตอน พบขนาดตั้งแต่ไม่เกิน 40 ซม. จนถึงกว่า 2 ม. ในปลาบึก Pangasianodon gigas ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นปลาหนังที่ใหญ่ที่สุด ปลาวงศ์นี้มีการกระจายพันธุ์ จากอินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และ บอร์เนียว อินโดนีเซีย มี 21 ชนิด และ พบในไทย 12 ชนิด เช่น สวาย , สวายหนู , สังกะวาดท้องคม ฯลฯ
วงศ์ปลาแค้
แตกต่างจากปลาหนังในวงศ์อื่น ๆ คือมีส่วนหัวโตปากกว้างมาก และ อยู่ด้านล่างผิวหนังบนหัว และ ตัวไม่เรียบ อาจสากหรือเป็นตุ่มนิ่มเล็กๆ บนหัวมีสันตื้น ไปถึงด้านหลัง ครีบไขมัน มีขนาดเล็กมีหนวด 4 คู่ หนวดที่ริมฝีปาก เป็นเส้นแบนและแข็ง หนวดที่จมูก สั้นหนวดใต้คางยาว ส่วนมากครีบหลังและครีบอกมีก้านแข็งแหลมคม ครีบท้องใหญ่ ครีบก้นเล็ก ครีบหางเว้าแฉก ปลาวงศ์นี้มีการกระจายพันธุ์เฉพาะในเขตร้อนของเอเซีย พบมากกว่า 50 ชนิด ประมาณ 17 ชนิด พบในไทย มี 2 ชนิด คือ แค้วัว , แค้ควาย
วงศ์ปลาดุก
มีลักษณะที่เด่ดชัดคือ ส่วนหัวกลมแบนราบตาเล็กอยู่ด้านข้างของหัว ปากเล็ก อยู่ตอนปลายสุดของจะงอยปาก มีหนวดรอบปาก 4 คู่ยาวเท่าๆกัน ครีบอกมีก้านแข็งแหลมคม และ มีพิษแรงปาณกลางถ้าถูกทิ่มแทง ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็งยาวเกือบเท่าลำตัวเช่นเดียวกับครีบก้น ครีบหลังและครีบท้องเล็กปลายมน ปลาดุก มีอวัยวะพิเศษรูปร่างคล้ายก้อนฟองน้ำ สีแดงสดอยู่ในช่องเหงือกตอนบน ใช้ช่วยหายใจโดยใช้อากาศเหนือน้ำได้ จึงทำให้ปลาดุกอยู่เหนือน้ำ ได้นานกว่าปลาชนิดอื่น ๆ และมันยังสามารถใช้แถก คืบคลานบนบกได้ เมื่อมีฝนตกน้ำไหลหลาก และเป็นที่มาของชื่อภาษาอังกฤษ ที่เรียกว่า “ Walking catfish” ปลาดุกมีการวางไข่โดยขุดโพรง หรือ ทำรัง และบางชนิดตัวผู้ ตัวเมียช่วยกันดูแลไข่จนฟักเป็นตัว ไข่เป็นแบบไข่ติด ปลาในวงศ์นี้มีการกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่ทวีปอัฟริกา ถึง เอเชีย ในประเทศไทยพบ 6-7 ชนิด เช่น ดุกด้าน , ดุกอุย และ ดุกเนื้อเลน ฯลฯ
วงศ์ปลาจีด ( Family Heteropneustidae )
พบตั้งแต่อินเดีย ถึง ประเทศไทย มีเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย คือ จีด
วงศ์ปลากดทะเล , ปลาอุก ( Family Ariidae )
เป็นปลาที่อยู่ในบริเวณน้ำกร่อย ปากแม่น้ำ และ ในทะเล ส่วนมากรูปร่าง คล้ายปลาสวายแต่มีส่วนหัวโตกว่า และ แบนราบเล็กน้อย ครีบหลังยกสูง มีก้านแข็งคมเช่นเดียวกับครีบอก ครีบก้นสั้น ครีบหางเว้าลึก มีหนวด 1-3 คู่รอบปาก ปลาวงศ์นี้มีการวางไข่ โดยตัวผู้เป็นผู้อมไข่ไว้ในปากรอจนกว่าจะฟักเป็นตัว ไข่มีฟองขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 0.5 – 1 ซม. แล้วแต่ชนิด พบกระจายพันธุ์ทั่วเขตร้อนของโลก พบในประเทศไทย ประมาณ 20 ชนิด และพบในน้ำจืดราว 6 ชนิด
วงศ์ปลาบู่ใส ( Family Phallostethidae )
เป็นปลาขนาดเล็ก มีรูปร่างเพรียว หัวเล็ก ตาเล็ก ใต้คางมีขดกระดูกเป็นอวัยวะพิเศษใช้ในการสืบพันธุ์ เรียก Priapium มีรูปร่างแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด มีครีบหลัง 2 ตอน ตอนแรกเล็กมาก มีเพียง 1 ก้านครีบสั้น ๆ ตอนหลังมีขนาดเล็ก ทั้งสองส่วนอยู่ค่อนไปด้านท้ายลำตัว ครีบหางเว้าตื้น ครีบก้นใหญ่ ครีบอกเล็ก ไม่มีเกล็ด ตัวมักใส อยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ในบริเวณผิวน้ำของแม่น้ำ และ แหล่งน้ำนิ่ง ทั้งน้ำจืด และ น้ำกร่อย พบในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ถึงฟิลิปปินส์ ทั้งหมด 4 สกุล 20 ชนิด มีขนาดใหญ่สุด3.7 ซม. ทั่วไปประมาณ 2 ซม. ในประเทศไทย พบอย่างน้อย 3 ชนิด
วงศ์ปลาเข็ม ( Family Hemirhamphidae )
มีรูปร่างทรงกระบอกเรียว ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หรือกลม ลักษณะที่เด่นชัด คือมีจะงอยปากล่าง ยื่นยาวกว่าปากบนมาก ตาโต ครีบหลังค่อนไปทางด้านท้ายลำตัว มีเกล็ดค่อนข้างเล็ก มักพบในบริเวณน้ำกร่อย และ ทะเล ชอบว่ายหากินอยู่บริเวณใกล้ ผิวน้ำ กินแมลง ลูกปลาเป็นอาหาร รวมถึงแพลงค์ตอนพืช ออกลูกเป็นตัว โดยผสมพันธุ์ ภายในตัว พบทั่วไปในทะเลเขตร้อน พบในน้ำจืดของประเทศไทย 5 ชนิด ปลาในวงศ์นี้ ที่ใช้ประโยชน์ เป็นปลาสวยงาม คือ ปลาเข็มหม้อ พบบ่อยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตอนล่าง บึงบอระเพ็ด และยังถูกนำมาเลี้ยงใช้ต่อสู้กันแบบปลากัด
วงศ์ปลากระทุงเหว ( Family Belonidae )
มีจะงอยปากทั้งบน และ ล่างยื่นยาวมาก และ แข็งแรง มีฟันเล็กแหลมบนขากรรไกรทั้งบนและล่าง รูปทรงกระบอกยาวเรียว ครีบหลัง และ ครีบก้นมักอยู่ค่อนไปทางด้านท้าย ครีบอกใหญ่ เกล็ดเล็ก พบส่วนมากอยู่ในทะเล และ น้ำกร่อยของ เขตร้อนรอบโลก เป็นปลากินเนื้อ วางไข่ โดยเป็นไข่ติด ไข่มักมีเส้นใยหุ้มรอบ พบในน้ำจืดของไทย เพียง 1 ชนิด คือ ปลากระทุงเหวเมือง
วงศ์ปลาซิวข้าวสาร ( Family Oryziidae )
ลักษณะลำตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย หัวและตาโตและอยู่สูง ปากเล็กครีบหลังค่อนไปทางด้านท้าย ครีบอกอยู่ในระดับสูงเหนือช่องเหงือก ครีบหางปลายมนตัวมักใสหรือมีสีน้ำตาลอ่อน ครีบหางอาจมีสี เป็นปลาขนาดเล็กกว่า 5 ซม. อาศัยในแหล่งน้ำนิ่ง และ น้ำกร่อย อยู่เป็นฝูงใหญ่ ในบริเวณผิวน้ำ พบทั่วไปในทวีปเอเซีย ในประเทศไทยพบอย่างน้อย 5 ชนิด
วงศ์ปลาหัวตะกั่ว ( Family Aplocheilidae )
ลักษณะรูปร่างคล้ายกับปลาข้าวสาร แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก หัวโต ตาโต ปากกว้างตัดตรง และ ยืดออกได้ ครีบหลังตั้งต่ำกว่าช่องเหงือก ครีบหางปลายมน แหลมเล็กน้อย เกล็ดเล็ก หัวมักมีแต้มสีเงิน วาวสะท้อนแสง ตัวมีสีฟ้าอ่อน และมักมีจุดประสีสดใส ต่างๆ บนลำตัว และ ครีบ ขนาดใหญ่สุด 8 ซม. พบทั่วไป 6 ซม. อาศัยทั้งในแหล่งน้ำนิ่ง และ น้ำกร่อย มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตร้อน ตั้งแต่เอเซีย ถึง แอฟริกา ชนิดที่พบในประเทศไทย มี 1 ชนิด คือ หัวตะกั่ว
วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ ( Family syngnathidae )
เป็นวงศ์เดียวกับม้าน้ำ รูปร่างยาวเรียว และ ลำตัวเป็นทรงสี่เหลี่ยม มีจะงอยปากยาวเป็นท่อ ปากเล็ก มีครีบหลัง และ ครีบอกอันเล็กบาง และ มักมีครีบหางอันเล็ก หรือ ไม่มี เกล็ดดัดแปลงเป็นแผ่นกระดูกแข็งหุ้มลำตัวเป็นวงหลายวง ไปจนตลอดถึงปลายหาง มีขนาดตั้งแต่ 2 ซม จนถึง 40 ซม. พบส่วนมากในทะเล และ พบในน้ำจืดทั้งแม่น้ำ และ แหล่งน้ำนิ่งที่มีคุณภาพดีเท่านั้น กินแพลงค์ตอนสัตว์ และ ลูกกุ้ง ลูกปลา ในประเทศไทย พบอย่างน้อย 25 ชนิด แต่พบในน้ำจืด 3-5 ชนิด เช่น จิ้มฟันจระเข้ยักษ์
วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้แคระ ( Family Indostomidae )
มีรูปร่างคล้ายกับปลาจิ้มฟันจระเข้ แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ส่วนหัวและจะงอย ปากสั้นกว่า ตาโต มีวงเกล็ดของลำตัวน้อย ส่วนหางเรียงเล็ก มีครีบหลังเป็นก้านแข็งสั้นๆ ที่ตอนหน้าของลำตัว และเป็นครีบอ่อนที่ตอนกลาง มีทั้งครีบอก ครีบท้องอันเล็ก และ ครีบก้น และ ครีบหางเป็นรูปพัด ตัวมีสีน้ำตาลอ่อนถึงคล้ำ และ มีลายสีคล้ำประ ครีบใส อาจมีประสีน้ำตาลคล้ำ ขนาดพบใหญ่สุด 3 ซม. พบทั่วไป 2 ซม. อาศัยในแหล่งน้ำนิ่งที่มีพรรณพืชหนาแน่น และ มีสภาพดีมาก รวมถึงบริเวณป่าพรุดั้งเดิม เคยมีรายงานพบว่า พบเฉพาะในทะเลสาบ Indowgi ของพม่าเท่านั้น แต่ปัจจุบันพบว่ามีชนิดใหม่ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ลุ่มแม่น้ำโขง ถึงภาคใต้ และ มาเลเซีย ในประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ Indostomus spinosus จากลุ่มแม่น้ำโขง และ บึงบอระเพ็ด แต่ปัจจุบันพบน้อยมากในบึงนี้ และ มีอีกชนิดที่พบในภาคใต้ ตั้งแต่พรุโต๊ะแดง จ. นราธิวาส ไปถึง มาเลเซีย
วงศ์ ปลาไหลนา
มีรูปร่างเรียวยาวอย่างงู ลำตัวกลม ปลายหางแหลม ไม่มีครีบ แต่ในขณะนั้นเป็นตัวอ่อนมีครีบอกเล็กๆ ผิวมีเกล็ดละเอียดฝังอยู่ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นเส้นเลือดฝอยที่คอหอย มักอาศัยอยู่ในพื้นท้องน้ำริมตลิ่งโดยขุดรูอยู่และทำรังวางไข่ในรูนั้น หรืออาจอยู่ตามกอสวะรากไม้ พบทั้งในน้ำกร่อย และ น้ำจืด ตั้งแต่อินเดีย ถึง ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น พบในน้ำจืดของไทย 3 ชนิด
วงศ์ ปลากระทิง
มีรูปร่างคล้ายปลาไหล แต่มีส่วนหัวและจะงอยปากยื่นแหลม มีครีบอก ครีบหลัง และครีบก้น ครีบหางเล็ก ด้านหลังมีก้านครีบแข็งสั้นๆ แหลมคมอยู่ตลอด ตอนหน้า มีเกล็ดเล็ก ปากเล็ก และ จะงอยปาก และ ปลายจมูกเป็นงวงแหลมสั้น ๆ ปลายแฉก ตาเล็ก อาศัยอยู่ใกล้พื้นท้องน้ำ หรือ อยู่ในโพรงไม้ และ รากไม้ พบในเขตร้อนตั้งแต่ ทวีปอัฟริกา ถึง เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่บอร์เนียว ประมาณ 36 ชนิด พบในไทยประมาณ 12 ชนิด
วงศ์ปลาหลดแคระ
มีรูปร่างคล้ายปลาหลด แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก และไม่มีเกล็ด หัวเล็ก จะงอย ปากสั้นมน ปากค่อนข้างกว้าง ตาเล็กมาก ครีบไม่มีก้านแข็ง ส่วนมากครีบหางเชื่อมต่อ กับครีบหลัง และ ครีบก้น ตัวมักมีสีชมพู หรือ สีจาง ไม่มีลวดลาย มักอาศัยในบริเวณที่พืชน้ำหนาแน่นของแหล่งน้ำนิ่ง พรุ และ แม่น้ำ มีขนาดโตไม่เกิน 8 ซม. พบตั้งแต่ อินเดีย ถึง เกาหลี , จีน และ บอร์เนียว พบรวมทั้ง 6 สกุล กว่า 12 ชนิด ในประเทศไทย พบอย่างน้อย 2 ชนิด
วงศ์ปลากระจก , แป้นแก้ว
มีรูปร่างเป็นรูปไข้ ส่วนหลังและ ท้องกว้าง ลำตัวแบนข้างมาก หัวโต ตาโต ปากกว้าง ครีบหลังมี 2 ตอน ตอนหน้ามีก้านแหลมแข็งแหลม ตอนท้ายมีก้านอ่อน ครีบหาง เว้าลึก ครีบก้นมีก้านแข็ง 3 อัน ครีบท้องมีก้านแข็ง 1 อัน ลำตัวมักมีลำน้ำใส หรือ ขุ่นเล็กน้อย และ มีด้านท้องสีเงิน เป็นปลากินเนื้อ พบส่วนมากในบริเวณปากแม่น้ำ อยู่รวมกันเป็นฝูง พบในเขตร้อนของชายฝั่ง มหาสมุทรอินเดีย ถึง ฟิลิปปินส์ และ ออสเตรเลีย ในแหล่งน้ำจืดของไทยพบ 5 ชนิด เช่น แป้นแก้ว , อมไข่น้ำจืด , แป้นแก้วยักษ์ ฯลฯ
วงศ์ปลาเสือตอ
รูปร่างลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง ปากกว้าง ยืดออกได้มาก เกล็ดเล็กละเอียด ครีบหลังมี 2 ตอน ต่อเนื่องกันเป็นส่วนของก้านครีบแข็ง และ ก้านครีบอ่อน ครีบหางมน ครีบก้นสั้น ก้านครีบอันที่ 2 ยาวที่สุด ตัวมักมีแถบสีดำพาดขวางส่วนหัว และ ตัวถึงคอดหาง 5-8 บั้ง ขนาดใหญ่สุดถึง 50 ซม. อาศัยในแม่น้ำและที่น้ำหลาก พบทั้งในน้ำจืด และ น้ำกร่อยของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ถึง นิวกินี รวม 5 ชนิด ที่พบในประเทศไทย มี 3 ชนิด เช่น เสือตอ
วงศ์ปลาม้า , ปลาจวด ( Family Sciaenidae )
เป็นปลาทะเลส่วนมาก มีส่วนหัวโต จะงอยปากยื่นยาว แต่ปลายมน ตาโต ตั้งอยู่ค่อนไปทางด้านบนของหัว ปากมักอยู่ไปทางด้านล่าง ริมฝีปากบาง มีฟันเป็นเขี้ยวซี่เล็กๆ มักมีรูเล็กๆ อยู่ใต้คาง ครีบหลังยาวและเว้าเป็น 2 ตอน ส่วนโคนหางมักขอดกิ่ว หางอาจมีปลายแหลม หรือ ตัดตรง เกล็ดเล็ก เกล็ดบนเส้นข้างตัวขึ้นเลยไปถึงปลายครีบหาง ครีบท้องตั้งอยู่ใต้ครีบอก มีกระเพาะลมอันใหญ่ และ มีกล้ามเนื้อรอบซึ่งทำเสียงได้เวลาถูกจับ พบในเขตร้อนรอบโลกมากกว่า 270 ชนิด พบในน้ำจืดน้อยชนิดแต่ส่วนมากพบในน้ำกร่อย ในประเทศไทยพบเกือบ 40 ชนิด แต่ที่พบในน้ำจืดมีเพียง ชนิดเดียว คือ ม้า
วงศ์ปลากุเรา ( Family Polynemidae )
มีรูปร่างทรงกระบอกสั้น ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวและจะงอยปากทู่ ปากกว้างอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก ตาเล็กมีเยื่อไขมันปกคลุม ตั้งอยู่ตอนปลายของหัว ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอนห่างกัน ตอนแรกเป็นก้านแข็งอันสั้น ตอนท้ายเป็นก้านอ่อน ครีบหางเว้าลึก ครีบอกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนเป็นครีบยาวแหลมส่วนล่างเป็นเส้นยาวแยกออกเป็นเส้นๆ ตั้งแต่ 4 – 14 เส้น มีความยาวแล้วแต่ชนิด เกล็ดเล็กเป็นแบบขอบหยัก ( Ctenoid ) เป็นปลากินเนื้อ กินกุ้ง ปู และปลาเล็ก หาเหยื่อ และ สัมผัสได้ด้วยครีบอกที่เป็นเส้น พบส่วนมากในทะเล และ น้ำกร่อย ในน้ำจืดพบน้อยชนิด พบทั้งหมดประมาณ 30 ชนิด ในประเทศไทยมีประมาณ 10 ชนิด และ 2 ชนิดอยู่ในน้ำจืด คือ หนวดพราหมณ์
วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ ( Family Toxotidae )
รูปร่างเป็นสามเหลี่ยม ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นแหลม ตาโต ปากกว้างอยู่ปลายสุดของหัว และ ยืดหดริมฝีปากได้ดี ด้านหน้า และ ด้านหลังเป็นแนวตรง ครีบหลังอยู่ค่อนไปทางด้านท้าย มีก้านแข็ง 4 – 5 อัน ครีบหางปลายตัด ครีบอก และ ครีบท้องเล็ก เกล็ดเล็ก ตัวมักมีลายเป็นดวงดำขนาดใหญ่บนพื้นสีขาว มีความสามารถพิเศษ คือ พ่นน้ำ จับแมลงที่อยู่สูงขึ้นไปจากผิวน้ำได้ถึง 1 เมตรกว่า มักว่ายหากินอยู่ใกล้ผิวน้ำ เป็นฝูงเล็ก ๆ ว่องไวมาก อาศัยในแม่น้ำ และ น้ำกร่อยปากแม่น้ำ พบทั่วไปในเขตร้อน ของเอเซีย ถึง ออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ เสือพ่นน้ำ , เสือดำ ฯลฯ
วงศ์ ปลาบู่
เป็นวงศ์ที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดของปลาในโลก พบอาศัยทั้งในทะเลลึกกว่า 60 ม. ถึงลำธารในที่สูงกว่า 1,000 เมตร พบทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นมากกว่า 1,950 ชนิด และ ในประเทศไทยมากกว่า 300 ชนิด มีลักษณะที่ต่างจากปลาอื่น คือ มีลำตัวทรงกระบอก หรือ ยาว ส่วนหัวและจะงอยปากบน มีเส้นข้างตัว และ แถวของรูปลายประสาทอยู่บนหัวหลายแถว ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอน ชัดเจน ครีบหางมนกลม ครีบก้นยาว ครีบอกใหญ่ ครีบท้องใหญ่จะแยกจากกันใน วงศ์ ปลาบู่ทราย แต่จะเชื่อมติดกันเป็นถ้วยส่วนมากในวงศ์ ปลาบู่ เกล็ดมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เป็นปลากินเนื้อ กินแมลง สัตว์น้ำขนาดเล็ก และ ปลา วางไข่โดยตัวผู้ และ ตัวเมียช่วยกันดูแล โดยไข่ติดกับวัสดุเป็นแพ ไข่มีรูปร่างคล้ายผลองุ่น เมื่อฟักตัวจะปล่อยให้หากินเอง มีบางชนิดเท่านั้นที่มีขนาดใหญ่ ส่วนมากมีขนาดเล็กยาวไม่เกิน 20 ซม. อาศัยอยู่ในทะเล และ น้ำกร่อยเป็นส่วนมาก พบน้อยชนิดในน้ำจืด ในไทยพบประมาณ 20 ชนิด เช่น ปลาบู่ทราย
วงศ์ปลาหมอ ( Family Anabantidae )
มี 1 ชนิดในประเทศไทย คือ ปลาหมอ รูปร่างป้อม ลำตัวแบนข้าง ส่วนหัวสั้นปลายมน ตาโต ปากกว้าง ขอบฝาปิดเหงือกเป็นหยักแข็ง เกล็ดใหญ่คลุมทั่วตัว เส้นข้างตัวขาดตอน ครีบหลังยาวเกือบเท่าความยาวลำตัว มีก้านแข็งแหลม จำนวนมาก เช่นเดียวกับครีบก้น แต่ ครีบก้นสั้นกว่า ครีบอกเล็กรูปไข่ ครีบหางปลายมน ตัวมีสีเขียว มะกอก และ มีลายประสีคล้ำที่ข้างลำตัว ครีบใส ด้านท้องสีเหลือง ขอบฝาปิดเหงือกตอนบนมีแต้มสีดำ มีอวัยวะช่วยหายใจ ขนาดพบใหญ่สุด 20 ซม. พบทั่วไป 10 –13 ซม. พบในแหล่งน้ำนิ่งส่วนมากในทุกภาค จับได้โดย อวนลาก แห ข่าย เบ็ดธง บ่อล่อปลา ลอบ ไซ ยอก และ เบ็ดตก สามารถแถกขึ้นบก ไปหาที่กินใหม่ ได้เมื่อมีฝนตกน้ำหลาก โดยใช้ขอบฝาปิดเหงือกช่วยใน การเคลื่อนที่
วงศ์ปลาสลิด , กัด ( Family Belontidae )
เป็นวงศ์ปลาที่มีลักษณะพิเศษคือ มีอวัยวะช่วยหายใจในช่องเหงือก ตอนบน และ ทำรังหรือก่อหวอด เพื่อวางไข่ มักมีรูปร่างเรียวยาว หรือ รูปไข่ ลำตัวแบนข้าง ส่วนหัวโต ตาโต ปากเล็ก ครีบหลังสั้น แต่ครีบก้นยาวมาก มีครีบท้องอันเล็ก หรือ เป็นเส้นยาวเรียว ครีบหาง เว้าตื้น เกล็ดเล็กเป็นแบบขอบหยัก พบประมาณ 15 ชนิดในไทย มักมีขนาดเล็ก และ มีสีสันสวยงาม เปลี่ยนสีได้ดีตามสถานการณ์ ส่วนมากมีประโยชน์ เป็นปลาสวยงาม เช่น ปลากัดต่างๆ ปลากริม กระดี่มุก ฯลฯ
วงศ์ ปลาหมอตาล ( Family Helostomidae )
มีรูปร่างเป็นรูปไข่ ลำตัวแบนข้างมาก หัวเล็กตาโต ปากเล็กยืดหดได้ดี จะมีจะงอยปาก และ หน้าผาก โค้งลาด เกล็ดใหญ่ ครีบหลัง และ ครีบก้นยาว มีก้านครีบแข็งจำนวนมาก ครีบหางมน ครีบท้องเป็นเส้นยาว ตัวมีสีเขียวอ่อนเหลือบด้านบน ตาแดง ด้านข้างลำตัวสีเขียวมะกอกเหลือบเงิน หรือ น้ำตาลอ่อน มีแถบสีจางตามแนวเกล็ด ครีบหลัง และ ครีบก้นสีคล้ำ ครีบหางสีจาง ขนาดพบใหญ่สุด 25 ซม. พบทั่วไป 10 – 15 ซม. อาศัยในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่งที่มีพืชน้ำขึ้น จับได้โดยข่ายลอย ไซ ลอบ และ แห ใช้ประโยชน์โดยบริโภคแบบปรุงสด ๆ และ ทำปลาแห้ง เคยพบมากในแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก และ พบบ้างในภาคใต้ ถึง มาเลเซียในปลาที่มีสีเผือกนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เรียกปลาจูบ
วงศ์ปลาแรด
เป็นปลากลุ่มของปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจที่มีขนาดใหญ่ที่สุด พบทั้งหมด 4 ชนิด ตั้งแต่ไทย ถึง กัมพูชา ถึงบอร์เนียว แต่พบในไทยเพียงชนิดเดียว คือ ปลาแรด
วงศ์ปลาช่อน
รูปร่างทรงกระบอกเพรียว ส่วนหัวโต จะงอยปากยื่น ปากกว้าง ตาโต มีฟัน เป็นเขี้ยวบนขากรรไกร ส่วนหัวดูจากตอนบน โค้งมนคล้ายหัวของงู หัวด้านบนราบ ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางปลายมน ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเล็ก เกล็ดใหญ่มีขอบเรียบ ปลาช่อนมีอวัยวะช่วยหายใจเป็นหลือเนื้อสีแดง อยู่ในคอหอย จึงสามารถอยู่ในแหล่งน้ำที่มีอ็อกซิเจนต่ำได้ วางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับพื้นที่น้ำตื้นๆ ให้เป็นแปลงกลม แล้ววางไข่ลอยเป็นแพ ตัวผู้เป็นผู้ดูแลจนฟักแล้วเลี้ยงลูกจนโต เรียก ลูกครอก มีสีแดง,ส้ม รูปร่างคล้ายพ่อแม่ จึงปล่อยให้หากินเอง พบในเขตร้อนของอัฟริกา และ เอเชีย มีประมาณ 20 ชนิด ในไทยพบ 7 ชนิด
วงศ์ปลานิล
เป็นวงศ์ปลาที่มีหลายร้อยชนิด พบในเขตร้อนของอเมริกา แอฟริกา ถึง ศรีลังกา เป็นวงศ์ที่รู้จักกันดีจากปลาสวยงามเป็นส่วนมาก เช่น ปลาเทวดา ปลาออสการ์ ปลาหมอสี ฯลฯ แต่ที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารมีอยู่ 3 ชนิด คือ ปลานิล ปลาหมอเทศ และ ปลาหมอเทศข้างลาย
มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำไนล์ และ อื่นๆ ในทวีปอัฟริกาจนถึงอียิปต์ ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในปี 2508 เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยชนิดหนึ่ง และ พบแพร่พันธุ์ทุกแหล่งน้ำของไทย
วงศ์ ปลายอดม่วง
รูปร่างเรียวยาวส่วนท้ายแหลมดูคล้ายใบมะม่วง ตาเล็กจะงอยปากงุ้ม ปลายริมฝีปากบนเป็นติ่งแหลมโค้ง ปากค่อนข้างกว้าง ส่วนหัวหันไปทางซ้ายโดยที่ซีกขวา อยู่ด้านบน ต่างจากปลาใบไม้ ส่วนมากเป็นปลาทะเล พบในน้ำจืดน้อยชนิด ในไทยพบมากกว่า 20 ชนิด แต่พบในแม่น้ำเพียง 2 ชนิด
วงศ์ปลาปักเป้า
มีรูปร่างที่เฉพาะตัวคือ กลมป้อม ส่วนโคนหางเล็ก มีครีบหลังและครีบก้นเล็กสั้นอยู่ค่อนไปทางซ้าย ครีบอกใหญ่รูปกลมมน ครีบหางใหญ่ปลายมน ว่ายน้ำโดยใช้ครีบอกโบกพร้อมหับครีบหลัง และ ครีบ ช่องเหงือกเล็ก หัวโต จะงอยปากยื่นมีฟันเป็นปากนกแก้ว ตาโตอยู่ค่อนไปทางด้านบนของหัว รูจมูกเป็นติ่งสั้นๆ ผิวขรุขระมีหนามเล็กๆ อยู่บริเวณผิว ด้านท้อง ผิวลำตัวส่วนอื่น ๆ จะเรียบ พบมากในทะเลเขตร้อนรอบโลก และ พบในปากแม่น้ำ เป็นปลาน้ำจืดเพียง 12 ชนิด ๆที่เคยพบในไทย ได้แก่ ปักเป้าเขียว , ปักเป้าดำ

ข้อมูลปลาน้ำจืดที่สำคัญ



ข้อมูลปลาน้ำจืดที่สำคัญ




ชื่อไทย
กราย หางแพน ตองกราย
ชื่อสามัญ
SPOTTED FEATHERBACK
ชื่อวิทยาศาสตร์
Chitala ornata
ถิ่นอาศัย
อาศัยในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพรรณพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่เป็นฝูงเล็ก พบทั่วไปตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงขนาดใหญ่ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองจนถึงแม่น้ำโขง ภาคเหนือเรียกว่าปลาหางแพน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่าปลาตองกราย
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่มีรูปร่างแปลกกว่าปลาอื่น คือ ลำตัวด้านข้างแบนมาก ท้องแบนเป็นสันมีหนามแหลมแข็งฝังอยู่เป็นคู่ ๆ จำนวนหลายคู่ จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาเล็ก ปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังจึงโก่งสูง มีฟันเล็กและแหลมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ในวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงิน และมีจุดดวงสีดำขอบสีขาวเรียงเป็นแถวที่ฐานครีบก้น จำนวน 3-200 จุด ปลากรายชอบผุดขึ้นมาทำเสียงที่ผิวน้ำแล้วม้วนตัวกลับให้เห็นข้างสีเงินขาว
อาหารธรรมชาติ
แมลงน้ำ ลูกกุ้ง ปลาผิวน้ำตัวเล็ก ๆ เช่น กระทุงเหว เสือ ซิว และสร้อย
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ


    


ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 

ชื่อไทย
ช่อน ค้อ
ชื่อสามัญ
STRIPED SNAKE- HEAD FISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Channa striatus
ถิ่นอาศัย
แพร่กระจายตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ลักษณะทั่วไป
ลำตัวอวบกลมยาวเรียว ท่อนหางแบนข้าง หัวแบนลง เกล็ดมีขนาดใหญ่
ปากกว้างมาก มีฟันซี่เล็ก ๆ อยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังและครีบก้นยาวจนเกือบถึงโคนหาง ครีบหางกลม ลำตัวส่วนหลังสีดำ ท้องสีขาว ด้านข้างลำตัวมีลายดำพาดเฉียงลำตัว มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจจึงสามารถเคลื่อนไหว
ไปบนบกและ ฝังตัวอยู่ในโคลนได้เป็นเวลานาน ๆ
อาหารธรรมชาติ
กินเนื้อสัตว์ต่าง ๆ
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ







ที่มาของข้อมูล : กรมประมง
ชื่อไทย
ชะโด แมลงภู่ อ้ายป๊อก
ชื่อสามัญ
GIANT SNAKE - HEAD FISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Channa micropeltes
ถิ่นอาศัย
ในแม่น้ำ และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่ค่อนข้างดุ ลำตัวเรียวยาวเป็นรูปทรงกระบอก ลักษณะครีบต่าง ๆ คล้ายกับ ปลาช่อน แต่เมื่อเติบโตเต็มวัยมีขนาดใหญ่กว่า ขณะยังเป็นปลาเล็กลำตัวจะมีแถบสีเหลืองอมส้มสดใสและมีแถบสีแดงหรือส้มปรากฎให้เห็น 1 แถบ พาดตามความยาวลำตัว เมื่อปลาชะโดมีอายุมากขึ้นลายสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนดำพร้อมทั้งมีแถบสีดำ 2 แถบ เมื่อปลาความยาวลำตัว 40 - 50 ซม. แล้วแถบสีและลายต่าง ๆ ลบเลือนไป สีลำตัวของปลาก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้มเหลือบเขียวตลอดตัว
อาหารธรรมชาติ
กินสัตว์น้ำต่าง ๆ
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 

ชื่อไทย
ดุกด้าน ดุก
ชื่อสามัญ
BATRACHIAN WALKING CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Clarias batrachus
ถิ่นอาศัย
อยู่ตาม คู หนอง บึง ซึ่งเป็นน้ำนิ่ง
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ด ลำตัวเรียวยาว ด้านข้างแบน หัวเล็ก กะโหลกท้ายทอยแหลมครีบหูมีก้านครีบแข็งปลายแหลมคมขอบหยักเป็นฟันเลื่อย ทั้งด้านในและด้านนอก ครีบหลังครีบก้นและครีบหางแยกออกจากกัน ครีบหางกลมมน มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ
การสืบพันธุ์
จะเจริญพันธุ์อายุ 8-12 เดือน และวางไข่ฤดูฝน โดยพ่อแม่ปลาขุดโพรงตามรากไม้เพื่อวางไข่และพ่อแม่จะเฝ้าดูแลไข่และตัวอ่อน ไข่เป็นแบบไข่จมติดกับวัตถุสีน้ำตาลอมเหลือง ใส ขนาดไข่เล็กกว่าดุกอุยมาก
อาหารธรรมชาติ
กินสัตว์ทั้งที่มีชีวิตและซากของสัตว์
สถานภาพ
เป็นปลาเศรษฐกิจใช้เป็นอาหาร













ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
ดุกอุย
ชื่อสามัญ
GUNTHER'S WALKING CATGISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Clarias macrocephalus
ถิ่นอาศัย
มีอยู่ทั่วไปในบริเวณลำคลอง หนองบึง ซึ่งมีพรรณไม้น้ำปกคลุมและมีพื้นเป็นโคลนตม
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ด ลำตัวเรียวยาวด้านข้างแบน หัวแบนลง กะโหลกท้ายทอยป้านและโค้งมน เงี่ยงที่ครีบหูมีฟันเลื่อยด้านนอกและด้านใน ครีบหลัง ครีบก้นและครีบหางแยกออกจากกันครีบหางมีปลายกลมมน สีลำตัวมีสีดำปนเหลือง ท้องสีเหลืองจาง มีอวัยวะพิเศษอยู่ในบริเวณช่องเหงือกมีทรวดทรงคล้ายต้นไม้เล็ก ๆ ช่วยในการหายใจ
การสืบพันธุ์
เจริญพันธุ์อายุ 8เดือนขึ้นไป พ่อแม่ปลาดุกขุดแอ่งตื้น ๆ ตามท้องนา และวางไข่ติดกับรากหญ้าก้นหลุม ไข่ติด สีน้ำตาลอมแดง การฉีดฮอร์โมน อัตราฉีดตัวเมีย suprefact 20 - 30 ไมโครกรัม/กิโลกรัมร่วมกับ motilium 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตัวผู้ 15 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมร่วมกับ motilium 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยตัวเมียทิ้งไว้ 16 ชั่วโมงแล้วจึงรีด ส่วนตัวผู้ทิ้งไว้ 10 ชั่วโมงแล้วผ่าเอาน้ำเชื้อออกมาทำการผสมเทียม โดยใช้วิธีแห้งแบบดัดแปลง
อาหารธรรมชาติ
กินสัตว์ ซากพืช และซากสัตว์
สถานภาพ
เป็นปลาเศรษฐกิจที่ใช้เป็นอาหาร



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
เทโพ หูหมาด
ชื่อสามัญ
BLACK EAR CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pangasius larnaudii
ถิ่นอาศัย
แต่เดิมมีชุกชุมในลำน้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบันมีจำนวนลดน้อยลง ในภาคอีสานพบในแม่น้ำโขง ชาวบ้านเรียก ปลาหูหมาด
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายกับปลาสวาย เพราะเป็นปลาในสกุลเดียวกันมีหัวโตหน้าสั้นทู่กว่าปลาสวาย ลำตัวยาวและด้านข้างแบน นัยน์ตาค่อนข้างโตและอยู่เหนือมุมปาก ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กแหลมคมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง มีหนวดเล็กและสั้นอยู่ที่ริมปากบนและมุมปากแห่งละหนึ่งคู่ กระโดงหลังสูงและมีก้านเดี่ยวอันแรกเป็นหนามแข็ง ครีบหูมีเงี่ยงแหลมแข็งข้างละอัน มีครีบไขมันอยู่ใกล้กับโคนครีบหาง ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายเป็นแฉกลึก ลำตัวบริเวณหลังมีสีดำคล้ำหรือสีน้ำเงินปนเทา หัวสีเขียวอ่อน ท้องสีขาวเงิน มีจุดสีดำขนาดใหญ่เหนือครีบหู
การสืบพันธุ์
เจริญพันธุ์อายุ 8เดือนขึ้นไป พ่อแม่ปลาดุกขุดแอ่งตื้น ๆ ตามท้องนา และวางไข่ติดกับรากหญ้าก้นหลุม ไข่ติด สีน้ำตาลอมแดง การฉีดฮอร์โมน อัตราฉีดตัวเมีย suprefact 20 - 30 ไมโครกรัม/กิโลกรัมร่วมกับ motilium 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตัวผู้ 15 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมร่วมกับ motilium 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยตัวเมียทิ้งไว้ 16 ชั่วโมงแล้วจึงรีด ส่วนตัวผู้ทิ้งไว้ 10 ชั่วโมงแล้วผ่าเอาน้ำเชื้อออกมาทำการผสมเทียม โดยใช้วิธีแห้งแบบดัดแปลง
อาหารธรรมชาติ
กินสัตว์น้ำที่ขนาดเล็กกว่าและซากของสัตว์
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 















ชื่อไทย



เนื้ออ่อน แดง นาง
ชื่อสามัญ
WHISKER SHEATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Micronema bleekeri
ถิ่นอาศัย
มีอยู่ชุกชุมตลอดลำน้ำเจ้าพระยา ปากน้ำโพ แม่น้ำป่าสัก ในแม่น้ำโขงก็พบชุกชุม จับได้มากในฤดูน้ำลดช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม และภาคใต้พบในแม่น้ำตาปีใกล้บ้านดอน มักชอบอยู่ในบริเวณน้ำลึก ๆ
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน ไม่มีเกล็ด รูปร่างด้านข้างแบนมาก ลำตัวยาวเรียว ท่อนหางโค้งงอเล็กน้อย แต่ตอนหัวกว้าง มีหนวด 4 เส้น ไม่มีครีบหลัง ส่วนครีบไขมันก็ไม่มีเช่นกัน ครีบก้นยาวมีก้านครีบอ่อนประมาณ 80 ก้าน
อาหารธรรมชาติ
กินลูกกุ้ง หนอน แมลงและจุลินทรีย์ขนาดเล็ก
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 








ชื่อไทย
บึก ไตรราช
ชื่อสามัญ
MEKONG GIANT CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pangasianodon gigas
ถิ่นอาศัย
แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำแหล่งเดียวในโลกที่เป็นถิ่นอาศัยของปลาบึก
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาไม่มีเกล็ดหรือที่เรียกกันว่า ปลาหนัง นับเป็นปลาน้ำจืดซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ลำตัวยาวด้านข้างแบน หัวค่อนข้างเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ตามีขนาดเล็กและอยู่ในระดับเดียวกับมุมปากมีหนวดสั้นมากมีอยู่ 2 คู่ ปากเล็ก ปลาวัยอ่อนจะมีฟันอยู่บนขากรรไกร เมื่อปลาเจริญวัย ฟันจะหลุดหายไป ลำตัวมีสีเทาปนดำบริเวณหลัง ด้านท้องใต้แนวเส้นข้างตัวลงเป็นสีเหลือง ส่วนล่างสุดจะเป็นสีขาวเงิน ปลาบึกมีประวัติความเป็นมายาวนานมีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาเป็นเวลาร้อยปี โดยชาวเขมรและลาวเชื่อกันว่า ปลาบึกตัวเมียมีถิ่นอาศัยอยู่เฉพาะในทะเลสาบเขมรเท่านั้น เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะเดินทางขึ้นไปตามลำน้ำโขง ผ่านประเทศลาว ไทย พม่า ขึ้นถึงทะเลสาบตาลีในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อผสมกับตัวผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในทะเลสาบดังกล่าว ปลาบึกตัวผู้มีลักษณะพิสดารกว่าตัวเมีย คือ จะมีเกล็ดเป็นสีทอง และสิงสถิตอยู่แต่ในทะเลสาบตาลีเท่านั้น
การสืบพันธุ์
ฤดูสืบพันธุ์เริ่มต้นหลังจากสิ้นฤดูฝนและเป็นระยะที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงเริ่มลดลง ระยะนี้ปลาบึกที่หากินบริเวณแม่น้ำโขงตอนล่างจะอพยพขึ้นสู่ตอนบนเพื่อวางไข่ผสมพันธุ์ การผสมพันธุ์เริ่มโดยตัวเมียจะลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ แล้วค่อยๆตะแคงข้างและหงายท้องขึ้น จากนั้นตัวผู้จะลอยตามขึ้นมา และคอยจังหวะเลื่อนตัวขึ้นทับตัวเมีย แล้วจะจมสู่ก้นน้ำพร้อมกัน ทำอยู่อย่างนี้หลายครั้งจนกว่าตัวเมียจะปล่อยไข่หมด แล้วจะไม่โผล่ขึ้นมาให้เห็นอีก หรือเพาะพันธุ์โดยการผสมเทียมก็ได้
อาหารธรรมชาติ
กินตะไคร่น้ำ ลูกปลาวัยอ่อน กินไรน้ำ ลูกปลาขนาดเล็ก
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ







ชื่อไทย
บู่ทราย บู่จาก บู่ทอง บู่เอื้อย บู่สิงโต
ชื่อสามัญ
MARBLED SLEEPY GOBY, SAND GOBY
ชื่อวิทยาศาสตร์
Oxyeleotris marmoratus
ถิ่นอาศัย
พบแพร่กระจายอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง บึง ทั่วทุกภาคของประเทศไทยในปัจจุบัน
มีผู้นิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้ในกระชังที่แขวนลอยอยู่ในแม่น้ำทางแถบจังหวัดอุทัยธานีนครสวรรค์ และอยุธยา
ลักษณะทั่วไป
ลำตัวค่อนข้างกลม ส่วนหางค่อนข้างแบน ปากกว้างเฉียงขึ้นข้างบนเล็กน้อย
นัยน์ตาเล็กโปนกลมตั้งอยู่ค่อนไปทางบริเวณส่วนหัว ถัดริมปากเล็กน้อยมีรู
จมูกคู่หน้าเป็นหลอดยื่นขึ้นมาติดกับร่องเหนือริมปาก ครีบหลังมีสองอัน ครีบหางกลมมน เคลื่อนไหวช้าในระดับกลางน้ำแต่จะปราดเปรียวเมื่ออยู่บนพื้นดินก้นแหล่งน้ำ
และสามารถหยุดการเคลื่อนไหวได้อย่างกะทันหัน ตามปกติแล้วในตอนกลาง
วันปลาบู่จะทรงตัวนิ่งไม่เคลื่อนไหว ทำให้บางท่านเข้าใจว่าปลาหลับ โดยปกติปลาบู่ทรายจะฝังตัวอยู่ในพื้นโคลนหรือพื้นทราย
การสืบพันธุ์
ปลาบู่ตัวผู้จะหาสถานที่ในการวางไข่ได้แก่ ตอไม้ เสาไม้ ทางมะพร้าว ฯลฯ แล้วทำความสะอาดวัสดุดังกล่าว หลังจากนั้นตัวผู้จะเข้าเกี้ยวพาราสีพร้อมไล่ต้อนตัวเมียให้ไป
ที่เตรียมไว้เพื่อการวางไข่ โดยธรรมชาติแล้วปลาบู่มีการจับคู่ผสมกันเป็นคู่ไม่เหมือนกับ
ปลาตะเพียนที่ไล่ผสมพันธุ์กันเป็นหมู่ ปลาบู่ส่วนใหญ่เริ่มมีการ
ผสมพันธุ์ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง แล้วแต่ความพร้อมของคู่ผสม
ตั้งแต่ตอนค่ำจนถึงเช้ามืด ธรรมชาติของปลาบู่นั้นผสมพันธุ์แบบภายนอกตัวปลา คือ ตัวเมียปล่อยไข่ออกมาติดกับวัสดุแล้วตัวผู้ปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสม
โดยที่ไข่ปลาบู่จะติดกับตอไม้ เสาไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่ปลาบู่สามารถวางไข่ติด และตัวผู้จะเฝ้าดูแลไข่โดยใช้ครีบหูหรือครีบหางพัดโบกไปมา ไข่ที่ได้รับการผสมจะเป็นตัวภายในเวลา 28 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 25-27 องศาเซลเซียส
อาหารธรรมชาติ
กินลูกกุ้ง ลูกปลาและหอย เป็นปลากินจุ สามารถกินอาหารหนักเท่ากับน้ำหนักของมันต่อวันและทุก ๆ วัน
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ











ที่มาของข้อมูล : กรมประมง
ชื่อไทย
ยี่สก เสือ
ชื่อสามัญ
JULLIEN'S GOLDEN - PRICE CARP
ชื่อวิทยาศาสตร์
Probarbus jullieni
ถิ่นอาศัย
อยู่ตามแม่น้ำที่พื้นเป็นกรวด หินหรือทรายที่จังหวัดหนองคาย ในฤดูวางไข่จะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ฝูงละ 30 - 40 ตัว บริเวณที่วางไข่อยู่ท้ายเกาะกลางแม่น้ำโขง ก่อนวางไข่พ่อแม่ปลาจะไล่กันเสียงดัง ชาวบ้านเรียกว่า "ปลาบ้อน" การผสมพันธุ์เรียกว่า ปลาถือกัน ฤดูวางไข่ตกราวเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ สำหรับในจังหวัดเชียงราย ชาวประมงแถบอำเภอเชียงของเรียกชนิดนี้ว่า ปลาเสือพบในแม่น้ำสายใหญ่ๆ ของไทย และยังพบที่แม่น้ำปาหังของมาเลเซีย
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน แต่เดิมเชื่อกันว่าถิ่นที่อยู่อาศัยของปลาชนิดนี้มีเฉพาะแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำป่าสักและแควน้อย จากการสำรวจพบว่า มีปลายี่สกอาศัยอยู่ในแม่น้ำอื่นอีก แต่เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น พบในแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคายเรียกว่า ปลาเอินที่จังหวัดเลยเรียกว่า ปลาชะเอินปลายี่สกมีรูปร่างเพรียวในปลาขนาดเล็ก หัวค่อนข้างโตแต่ลำตัวจะอ้วนป้อมในปลาที่โตเต็มที่ มีหนวดสั้น 2 คู่ ปากเล็กยืดหดได้อยู่คล้อยลงมาใต้ส่วนหัว ลำตัวสีเหลืองทอง ด้านท้องสีจาง มีแถบสีดำพาดตามแนวยาวบนลำตัว 4-5 แถบ แถบสีดำเหล่านี้จะพาดอยู่ระหว่างรอยต่อของเกล็ด ตาสีแดงครีบทุกครีบสีชมพู ในฤดูผสมพันธุ์จะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำอมม่วง ครีบมีสีคล้ำ ครีบหลังสูงเป็นก้านแข็งที่อันแรก ครีบหางใหญ่เว้าลึก เกล็ดขนาดใหญ่
การสืบพันธุ์
ในธรรมชาติปลายี่สกเป็นปลาที่วางไข่รวมกันเป็นฝูง เมื่อถึงฤดูวางไข่ ปลาจะมารวมกันเป็นฝูงเพื่อจับคู่ในบริเวณที่มีกระแสน้ำไหลแรง มีแก่งหินอยู่ใต้น้ำ เมื่อจับคู่ได้แล้ว จะออกไปผสมพันธุ์และวางไข่ในบริเวณที่มีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 0.5 - 2.0 เมตร กระแสน้ำไม่แรงนัก ชาวบ้านในภาคอีสานเรียกว่า "บุ่ง" ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแหล่งที่รวมฝูงกันมากนัก โดยปลาจะวางไข่ในเวลาพลบค่ำ สามารถสังเกตได้จากพ่อแม่ปลาขึ้นมาผสมพันธุ์บริเวณผิวน้ำ ทำให้ชาวประมงสามารถจับได้โดยง่าย ปลายี่สกในจังหวัดกาญจนบุรีและราชบุรีจะวางไข่ช่วงเดือน ธค .- มค. ส่วนในแม่น้ำโขงเริ่มตั้งแต่เดือน ธค .- มีค. โดยระยะที่วางไข่มากที่สุดอยู่ในเดือน กพ.
อาหารธรรมชาติ
กินหอยและตัวอ่อนแมลงน้ำที่อยู่บริเวณพื้นดิน
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 



ชื่อไทย
ลิ้นหมา ยอดม่วงน้ำจืด
ชื่อสามัญ
FRESHWATER TONGUEFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cynoglossus microlepis
ถิ่นอาศัย
พบตามแม่น้ำสายต่าง ๆ ในภาคกลาง
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดซึ่งมีรูปร่างแบนบางคล้ายใบไม้ตาทั้งสองอยู่บนซีกลำตัวด้านเดียวกันจึงมีชื่อเรียกกันว่า ปลาซีกเดียวทั้งนี้เกิดจากการพัฒนาและปรับตัวของปลา เพื่อให้เหมาะสมกับการดำรงชีพ ปลาชนิดนี้วัยอ่อนจะมีลำตัวซีกซ้ายและขวาเท่ากัน เมื่อเจริญเติบโตขึ้นรูปร่างของมันจะเปลี่ยนไปดังที่พบเห็นทั่วไป ปลาลิ้นหมามีหัวเล็ก ปากโค้งเป็นรูปเดียว นัยน์ตาทั้งสองข้างอยู่ติดริมปากบน ครีบหลังครีบหางและครีบก้นเชื่อมติดกัน ครีบหางเล็กปลายเรียวแหลม ลำตัวซีกซ้ายเป็นสีน้ำตาล ซีกขวาสีขาวซึ่งใช้ยึดเกาะติดกับก้อนหินและโคลนตมตามพื้นดินบริเวณที่มีระดับน้ำลึก
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
กินตัวอ่อนแมลง หนอนที่อาศัยอยู่ตามดินโคลน
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
สร้อยเกล็ดถี่ เรียงเกล็ด นางเกล็ด
ชื่อสามัญ
WHITELADY CARP
ชื่อวิทยาศาสตร์
Thynnicnthys thynnoides
ถิ่นอาศัย
พบมากในแม่น้ำลำคลองและในแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งแม่น้ำทางภาคเหนือของประเทศไทย ชอบรวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณกลุ่มละ 8 - 10 ตัว
ลักษณะทั่วไป
ลำตัวยาวเรียว รูปร่างคล้ายกับปลาลิ่น เกล็ดมีขนาดเล็ก บางและหลุดง่าย สีของเกล็ดมีสีขาวเงิน เป็นประกายเมื่อถูกแสงสว่าง เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะเหมือนกัน
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
ชอบกินแมลงน้ำ ตะไคร่น้ำ และตัวอ่อนของแมลงน้ำ
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
สลาด ฉลาด ตอง หางแพน วาง
ชื่อสามัญ
GREY FEATHER BACK
ชื่อวิทยาศาสตร์
Notopterus notopterus
ถิ่นอาศัย
พบตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงและอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและสะอาด มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่พบ เช่น ภาคเหนือเรียก หางแพนแต่ชาวแม่ฮ่องสอนเรียกว่า ปลาวางภาคอีสานมีชื่อว่า ปลาตอง
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดซึ่งมีรูปร่างเหมือนปลากรายแต่มีขนาดเล็กกว่า ลักษณะแตกต่างที่เด่นชัด คือ ปลาสลาดไม่มีจุดสีดำเหนือครีบก้นเหมือนอย่างปลากราย ปลาสลาดมีลำตัวเป็นสีขาวเงินปนเทา ปากกว้างไม่เกินขอบหลังของลูกตา ครีบหลังและครีบอกมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบก้นและครีบหางเชื่อมติดกันเป็นแผ่นเดียวกัน
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
กินลูกกุ้ง ลูกปลาและแมลงน้ำ
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 




ชื่อไทย
สลิด ใบไม้
ชื่อสามัญ
SNAKE SKIN GOURAMI
ชื่อวิทยาศาสตร์
Trichogaster pectoralis
ถิ่นอาศัย
พบในแหล่งน้ำนิ่งตามหนองบึง และที่ลุ่มภาคกลาง ในอดีตดอนกำยานจังหวัดสุพรรณบุรี เคยเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นแหล่งที่มีปลาสลิดชุกชุมและเนื้อมีรสชาติดียิ่งนัก ปัจจุบันมีการเลี้ยงกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ในเขตจังหวัดสมุทรปราการและฉะเชิงเทรา
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่มีลำตัวแบนข้าง รูปร่างคล้ายกับใบไม้และเหมือนกับปลากระดี่หม้อแต่ไม่มีจุดดำบนลำตัว มีแถบเป็นสีดำพาดขวางลำตัวเป็นริ้ว ๆ หลายแถบ ตัวผู้จะมีสีและแถบเข้มกว่าปลาตัวเมีย ลักษณะของครีบหลังก็สามารถใช้แยกเพศได้เหมือนกัน คือ ปลาตัวผู้มีกระโดงหลังยาวกว่าตัวเมีย
การสืบพันธุ์
วางไข่ในน้ำนิ่ง ในการวางไข่ตัวผู้จะเลือกสถานที่สำหรับก่อหวอด โดยการเลือกบริเวณที่มีพรรณไม้น้ำขึ้นไม่หนาแน่นมากนักเป็นที่มีร่มเงาพอสมควร เมื่อได้ที่เหมาะสมแล้วตัวผู้จะใช้ครีบหางพัดโบกเพื่อให้พรรณไม้น้ำขยายวงออกเกิดเป็นที่ว่าง แล้วจะฮุบเอาอากาศเข้าไปผสมกับน้ำเมือกในปาก และพ่นออกมาเป็นฟองอากาศ ซึ่งฟองเกาะกันเป็นกลุ่มอยู่ในบริเวณที่ว่างดังกล่าว หวอดจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร และนูนขึ้นจากผิวน้ำประมาณ 2 เซนติเมตร ปลาเพศผู้จะเริ่มก่อหวอดตั้งแต่ตอนบ่าย และตอนสายของวันต่อมาจึงเริ่มทำการผสมพันธุ์ โดยตัวผู้ 1 ตัวจะผสมพันธุ์กับตัวเมีย 1 ตัว เท่านั้น ในการผสมพันธุ์ตัวผู้และตัวเมียจะรัดกันอยู่บริเวณใต้หวอดประมาณ 30 เซนติเมตร เมื่อวางไข่เสร็จตัวผู้จะคอยไล่กัดตัวเมียให้ออกไปจากบริเวณหวอด และทำหน้าที่ระวังไข่เองจนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัว
อาหารธรรมชาติ
กินแมลงน้ำตัวอ่อน ลูกน้ำ ลูกไร ตะไคร่น้ำ และแพลงก์ตอน
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
หมอช้างเหยียบ หมอโค้ว ก๋า
ชื่อสามัญ
STRIPED TIGER NANDID
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pristolepis fasciatus
ถิ่นอาศัย
ตามแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง
ลักษณะทั่วไป
รูปร่างป้อมสั้น ลำตัวด้านข้างแบน หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กและอยู่ปลายสุด นัยน์ตาเล็ก มีเกล็ดขนาดเล็กที่หัวและลำตัว ครีบหลังยาว ส่วนที่เป็นก้านเดี่ยวเป็นหนามแข็งและแหลมคม ครีบก้นมีหนามแหลมคม ส่วนที่อ่อนมีขนาดใกล้เคียงกับส่วนอ่อนของครีบหาง ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายมน สีโดยทั่วไปของหัวและลำตัวเป็นสีเหลืองแกมเขียว หรือสีเหลืองปนน้ำตาล
การสืบพันธุ์
เพาะพันธุ์โดยการฉีดฮอร์โมนแล้วผสมเทียมหรือฉีดฮอร์โมนแล้วปล่อยให้รัดกันเอง
อาหารธรรมชาติ
กินไข่ปลาทุกชนิด ลูกกุ้ง ลูกปลาและแมลงน้ำ
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
หมอ สะเด็ด เข็ง
ชื่อสามัญ
COMMON CLIMBING PERCH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Anabas testudineus
ถิ่นอาศัย
แพร่กระจายทั่วทุกภาคของประเทศภาคเหนือเรียก ปลาสะเด็ดภาคอีสานเรียก ปลาเข็ง
ลักษณะทั่วไป
รูปร่างป้อม ลำตัวด้านข้างแบน หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาค่อนข้างเล็กกอยู่ใกล้ปลายจมูก ปากค่อนข้างแคบอยู่ปลายสุด กระดูกขอบกระพุ้งเหงือกหยักเป็นฟันเลื่อยแหลมแข็ง ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า เหงือกปลาหมอ อวัยวะส่วนนี้ใช้ในการเคลื่อนไหวไปบนบก ครีบหลังยาว ส่วนที่หนามแข็งยาวกว่าส่วนที่เป็นก้านครีบอ่อน ครีบก้นค่อนข้างยาว ครีบหางตัดตรงขอบมนเล็กน้อย สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลปนเหลือง ด้านท้องสีจางกว่า มีจุดดำขนาดเท่าเกล็ดประอยู่บนหัวและลำตัว ครีบทุกครีบสีเหลืองปนดำ มีอวัยวะช่วยหายใจอยู่ในปาก ทำให้ปลาหมอสามารถอยู่บนบกได้นาน ๆ
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
กินลูกปลา ลูกกุ้ง แมลง ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 




ชื่อไทย
หมูขาว
ชื่อสามัญ
Yellow - Tail botia
ชื่อวิทยาศาสตร์
Botia modesta
ถิ่นอาศัย
-
ลักษณะทั่วไป
ปลาหมูขาวมีลักษณะลำตัวจากปลายจะงอยปากถึงโคนครีบหางเป็น 2.5 - 2.9 เท่าของความกว้างลำตัว ลำตัวเป็นสีเทาหรือเทาอมเขียว บริเวณด้านหลังสีเข้มกว่าลำตัว ด้านท้องสีอ่อนหรือขาว บริเวณโคนหางมีจุดสีดำ จะงอยปากค่อนข้างยาว ปลายจะงอยปากมีหนวด 2 คู่ และมุมปากมีหนวดอีก 1 คู่ ปากอยู่ปลายสุดและอยู่ในระดับต่ำ ส่วนหัวมีหนามแหลมปลายแยกเป็น 2 แฉก ครีบทุกครีบไม่มีก้าน ครีบแข็ง ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีสีเหลืองจนถึงสีส้มหรือแดง เฉพาะครีบหางจะมีสีสดกว่าครีบอื่น ๆ ครีบอกและครีบท้องมีสีเหลืองจาง ครีบหลังมีจำนวนก้านครีบ 9 อัน ครีบก้น 8 อัน ครีบอก 12 - 15 อัน และครีบท้อง 7 - 9 อัน ปลาหมูขาวมีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลปลาหมูที่พบในประเทศไทย เท่าที่เคยพบมีขนาด 23.5 เซนติเมตร แต่ขนาดที่พบโดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย 10 - 25 เซนติเมตร ลักษณะของลูกปลาหมูขาวขนาดเล็กจะแตกต่างกับปลาชนิดอื่นๆ คือ ส่วนหลังจะโค้งลาดเหมือนพ่อแม่ปลา และบริเวณกลางลำตัวจะมีลักษณะสีดำทอดไปตามความยาวของตัวปลา เมื่ออายุได้ 45 - 60 วัน และแถบสีดำที่พาดขวางลำตัวจะหายไปเมื่อลูกปลาโตขึ้นหรือมีอายุประมาณ 5 เดือน บุญยืนและวัฒนา (2533)
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
ตัวอ่อนของแมลงในน้ำ ตัวหนอน สัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นๆ และซากสัตว์
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
หลด หลดจุด
ชื่อสามัญ
SPOTTED SPINY EEL
ชื่อวิทยาศาสตร์
Macrognathus siamensis
ถิ่นอาศัย
พบตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองและบึง ชอบฝังตัวในดินโคลนหรือบริเวณที่มีใบไม้เน่าเปื่อย
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดอยู่ในวงศ์ปลากระทิง มีรูปร่างคล้ายคลึงกับปลากระทิงแต่ปลาหลดมีขนาดเล็กกว่า ลำตัวยาวเรียว ด้านข้างแบน หัวเล็ก จะงอยปากเรียวแหลมและที่ปลายมีหนวดที่สั้นอยู่ 1 คู่ ปากเล็กและอยู่ใต้ ตาเล็ก ครีบเล็กปลายกลม ครีบหลังและครีบก้นยาวมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบหางมีขนาดเล็กปลายกลมมน ไม่มีครีบท้อง หลังมีสีน้ำตาล ท้องมีสีน้ำตาลอ่อนปนเหลือง มีจุดสีดำที่ครีบหลัง 3 - 5 จุด บางตัวมีจุดดำที่โคนหางหนึ่งจุด
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
กินสัตว์เล็ก เช่น ไส้เดือน ตัวอ่อนของแมลงและเนื้อสัตว์ที่เน่าเปื่อย
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
ไหล ไหลนา เหยี่ยน
ชื่อสามัญ
SWAMP EEL
ชื่อวิทยาศาสตร์
Monopterus albus
ถิ่นอาศัย
พบตามหนอง บึง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำนิ่ง อาจจะพบในนาข้าว ร่องสวนในบริเวณที่เป็นโคลนเลน
ลักษณะทั่วไป
มีรูปร่างคล้ายงู ปลาไหลเป็นปลาที่มีสองเพศในตัวเดียวกัน ขนาดเล็กจะเป็นเพศผู้และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นเพศเมีย ก่อนวางไข่ปลาจะสร้างหวอด โดยใช้น้ำลายพ่นกับอากาศเป็นฟองเล็ก ๆ เกาะกันเป็นกลุ่ม ปลาไหลใช้ปากดูดไข่ที่ได้รับการผสมเชื้อแล้วพ่นติดกันกับหวอด และจะเฝ้าดูแลไข่ของมันจนกระทั่งฟักเป็นตัว
การสืบพันธุ์
ก่อนที่ปลาไหลจะมีการวางไข่จะก่อหวอดบริเวณเหนือรูที่ขุดไว้ ช่วงนี้ปลาจะดุมาก ก่อหวอดประมาณ 1 - 2 วันจึงวางไข่ ลักษณะหวอดสีขาวขุ่น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร หวอดไม่เหนียวมาก แม่ปลาวางไข่ตอนกลางคืน ไข่ของปลาไหลจะติดอยู่ใต้หวอดและกระจายอยู่ตามพื้น แม่ปลาจะคอยพ่นน้ำจากรูตลอดเวลา ลักษณะไข่มีสีเหลืองทอง ผนังไข่หนามาก ขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร
อาหารธรรมชาติ
กินทั้งสัตว์ที่มีชีวิต และซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 



















ชื่อไทย


ตะเพียน
ชื่อสามัญ
THAI SILVER BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์
Puntius gonionotus
ถิ่นอาศัย
พบตามแหล่งน้ำไหล และน้ำนิ่งทั้งในภาคกลาง ภาคเหนือและภาคอีสาน
ลักษณะทั่วไป
ปลาตะเพียนมีลำตัวค่อนข้างป้อมแบนข้าง เกล็ดใหญ่ หัวเล็ก ปากเล็กอยู่หน้าสุด ลักษณะ แตกต่างจากปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน คือ ตะเพียนขาวมีก้านครีบอ่อนของครีบก้นอยู่จำนวน 6 ก้าน ชนิดอื่น ๆ มี 5 ก้าน สีของลำตัวเป็นสีเขียวอมฟ้าด้านหลังสีน้ำตาลปนเทา ท้องสีขาวเงิน ครีบก้นสีเหลืองปนส้ม ครีบอื่นๆ สีซีดจาง เป็นปลาที่ปราดเปรียวว่ายน้ำเร็ว เมื่อตกใจจะกระโดดได้สูงมาก
การสืบพันธุ์
วางไข่แบบฝูง (schooling fertilization) จะว่างทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ต้นน้ำตามบริเวณฝั่งของ ลำธารเล็กๆ ที่ไหลมารวมกับลำธารใหญ่ซึ่งมีสภาพเป็นโคลน การผสมพันธุ์โดยพ่อแม่ปลาจะรวมกันเป็นฝูงใหญ่
อาหารธรรมชาติ
กินพืช เมล็ดพืชตระกูลหญ้าโดยเฉพาะข้าว สาหร่าย ตะไคร่น้ำ ซากสัตว์ และพืชที่เน่าเปื่อย แพลงก์ตอน ไรน้ำ
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
ตะเพียนทราย
ชื่อสามัญ
GOLDEN LITTLE BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์
Puntius brevis
ถิ่นอาศัย
พบทั่วไปในแหล่งน้ำไหลและน้ำนิ่งตามแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก รูปร่างและสีสันคล้ายปลาตะเพียนขาวที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวยาวเรียว แบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโตอยู่ใกล้กับจมูก ปากเล็กอยู่ปลายสุดมีหนวดเล็กและสั้น 2 คู่ อยู่ที่ริมปากบนและมุมปาก เกล็ดกลมมน สีของสันหลังเป็นสีเทาปนดำ ข้างลำตัวสีส้มจาง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสีเหลืองจาง ขึ้นอยู่กับสภาพสีของน้ำและสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่ ท้องสีขาวเงินครีบหลังสีเทาอ่อน มีแถบสีดำจางหนึ่งแถบพาดตามความยาวของครีบ ปลายแฉกบนครีบหางมีแถบดำจาง ๆ
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
กินต้นอ่อนของพืช แมลงน้ำ ลูกน้ำ ไรน้ำ
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
ตะเพียนทอง
ชื่อสามัญ
RED - TAIL TINFOIL BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์
Barbodes altus
ถิ่นอาศัย
มีอยู่ทั่วไปในน่านน้ำจืด และบางทีก็เจ้าไปอาศัยอยู่ในลำคลอง หนองและบึงต่าง ๆ และมีชุกชุมมากในภาคกลาง
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่มีสีสันสวยงามมาก ลำตัวเป็นสีเงินหรือสีทอง ครีบท้องเป็นสีเหลืองส้มสลับแดง หางเป็นสีเหลือง ขอบหางเป็นสีแดงส้ม กระโดงหลังสีแดงหรือสีส้ม ปลายครีบสีดำมีขอบสีขาวมีความว่องไวและปราดเปรียวเหมือนปลาตะเพียนขาว อยู่รวมกันเป็นฝูงหากินและ วนเวียนอยู่ตามผิวน้ำ
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
กินพืชน้ำและสาหร่ายขนาดเล็ก
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
สวาย
ชื่อสามัญ
STRIPED CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pangasianodon hypophthalmus
ถิ่นอาศัย
พบเห็นตามแม่น้ำลำคลอง ในที่ร่มใกล้พืชพรรณไม้น้ำ หรือบริเวณใต้แพกร่ำ หรือใต้กอผักตบชวานับแต่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาไปจนถึงจังหวัดนครสวรรค์และในลำน้ำโขง
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด ชอบอยู่รวมฝูง อยู่ในสกุลเดียวกับปลาเทโพ มีรูปร่างลักษณะและขนาดตลอดจนถึงความเป็นอยู่คล้ายปลาเทโพ ลำตัวเรียวยาว ด้านข้างมีสัณฐานอวบกลม มีสันหลังค่อนข้างตรง ส่วนหน้าจะลาดลงไปจนถึงบริเวณปาก หน้าทู่ ปากกว้าง มีหนวดสั้น 2 คู่ ลำตัวมีสีนวลขาวบริเวณหลังมีสีหม่นเข้ม บริเวณครีบจะมีสีเหลืองอ่อน แต่ปลายหางครีบหลังและครีบอกจะมีสีค่อนข้างหม่น ปลาสวายขนาดเล็กจะมีแถบสีดำพาดตามลำตัว
การสืบพันธุ์
ปลาสวายจะมีไข่แบบจมติดกับวัตถุ เพาะพันธุ์โดยการฉีดฮอร์โมน หลังฉีดฮอร์โมน 12 ชั่วโมง ทำการผสมเทียม โดยใช้วิธีแห้งแบบดัดแปลง
อาหารธรรมชาติ
กินซากสัตว์และซากพืชที่เน่าเปื่อยรวมทั้งวัชพืช ลูกหอย หนอน ไส้เดือน
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
หมอเทศ
ชื่อสามัญ
JAVATILAPIA
ชื่อวิทยาศาสตร์
Oreochromis mossambica
ถิ่นอาศัย
ในแม่น้ำ ทะเลสาบ เดิมถิ่นกำเนิดในทวีปอัฟริกา
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่นำเข้ามาเลี้ยงในประเทศ มีรูปร่างคล้ายปลาหมอไทย แต่ส่วนของลำตัวและหัวใหญ่กว่า จะงอยปากค่อนข้างยาว ปากกว้าง ริมปากหนา ขากรรไกรล่างยาวกว่าขากรรไกรบน ครีบหลังยาวและสูง ส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งยาวกว่าส่วนก้านครีบอ่อนมาก ครีบก้นยาว ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายมน ครีบท้องอยู่ใกล้ครีบหูมีขนาดใกล้เคียงกัน ด้านหลังมีสีเทาปนดำ ข้างตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ท้องเหลืองจาง ๆ ตัวผู้มีขนาดใหญ่น้ำเงินปนดำ ตัวเมียเล็กกว่าและสีซีดจาง ในการผสมพันธุ์วางไข่ ตัวเมียฟักไข่ด้วยปาก
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
กินพืชน้ำ สาหร่าย ซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
สร้อยขาว สร้อยหัวกลม สร้อย
ชื่อสามัญ
JULLIEN'S MUD CARP
ชื่อวิทยาศาสตร์
Henicorhynchus siamensis
ถิ่นอาศัย
มีอยู่ทั่วไปตามแม่น้ำลำคลองและหนองบึงทั่วทุกภาคของประเทศ
ลักษณะทั่วไป
ลำตัวยาวเพรียว แบนข้าง ปากมีขนาดเล็ก กึ่งกลางของริมปากล่างมีปุ่มกระดูกยื่นออกมา ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปลาในสกุลนี้ ไม่มีหนวด ตามปกติปลาชนิดนี้จะหากินรวมเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีจำนวนไม่มากนัก เมื่อถึงฤดูฝนปลาจะรวมตัวกันฝูงใหญ่ ๆ เพื่ออพยพออกหนองบึงไปหาที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์วางไข่ อันได้แก่บริเวณทุ่งนาและที่ลุ่มซึ่งมีน้ำฝนท่วมขังอยู่ ลูกปลาจะหาอาหารเลี้ยงตัวและเจริญเติบโตอยู่ในแหล่งน้ำเหล่านั้น ครั้นถึงปลายฤดูหนาว น้ำเริ่มแห้งขอดลง ปลาสร้อยก็จะเดินทางออกจากแหล่งหากินลงสู่แม่น้ำลำคลอง และรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ลอยหัวอยู่ตามผิวน้ำ ในช่วงนี้จะจับปลาสร้อยได้ครั้งละมาก ๆ สาเหตุที่ทำให้ปลาลอยตัวอยู่ตามผิวน้ำนั้น อาจจะเป็นเพราะออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำมีปริมาณค่อนข้างต่ำ ทำให้ปลาต้องขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำ อาการเช่นนี้ ชาวประมง เรียกว่า "ปลาเมาน้ำ"
การสืบพันธุ์
ช่วงฤดูผสมพันธุ์และวางไข่แตกต่างกันไปตามสถานที่และปัจจัยทางสภาพแวดล้อม มีไข่แบบครึ่งลอยครึ่งจม วางไข่บริเวณที่มีกระแสน้ำไหล โดยจะอพยพเป็นฝูงทวนกระแสน้ำไปวางไข่บริเวณลำน้ำหรือต้นน้ำ ขณะที่ปลาผสมพันธุ์จะมีการส่งเสียงร้องซึ่งสามารถได้ยินอย่างชัดเจน
อาหารธรรมชาติ
กินพวกพืชน้ำและแมลงน้ำ
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
สังกะวาดเหลือง
ชื่อสามัญ
SIAMENSIS PANGASIUS
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pangasius macronema
ถิ่นอาศัย
อยู่ในแหล่งน้ำไหลเป็นส่วนใหญ่จะพบเห็นได้บ้างตามหนองและบึง แต่มีจำนวนไม่มากนัก มีอยู่ชุกชุมในภาคกลาง บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มประมาณกลุ่มละสิบตัว รูปร่างคล้ายปลาสวาย แต่มีขนาดเล็ก ลำตัวยาวเรียวและมีหนวดยาว โดยเฉพาะหนวดคู่ที่มุมปากปลายหนวดยาวเลยฐานของครีบท้อง ชอบหากินอยู่ตามผิวน้ำ ลำตัวยาวเรียวว่ายน้ำได้รวดเร็วและปราดเปรียว ลำตัวมีสีขาว ด้านสันหลังเป็นสีเทาคล้ำครีบหามีแถบสีดำ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะภายนอกเหมือนกัน
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
ชอบกินซากของพืชและซากของสัตว์ที่เน่าเปื่อย รวมทั้งผลไม้สุกงอมที่เน่าเปื่อย
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
นวลจันทร์น้ำจืด
ชื่อสามัญ
SMALL SCALE MUD CARP
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cirrhina microlepis
ถิ่นอาศัย
อยู่ตามแม่น้ำใหญ่ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่อยุธยาขึ้นไปถึงนครสวรรค์ จนถึงบึงบอระเพ็ด ปัจจุบันไม่พบแล้วในแม่น้ำเจ้าพระยา ทางภาคอีสานพบมากในลำน้ำโขง ชาวประมงบริเวณริมโขงแถบจังหวัดอุบลราชธานีเรียกปลาตัวนี้ว่า "ปลานกเขา" ส่วนชื่อ"นวลจันทร์"หรือ "นวลจันทร์น้ำจืด" เป็นชื่อเรียกที่ใช้เรียกกันในภาคกลาง
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน รูปร่างเพรียวยาว ลำตัวค่อนข้างกลม ปากเล็กเกล็ดเล็ก สีของลำตัวมีตั้งแต่สีส้มปนเทาจนถึงสีน้ำตาลปนสีขาวเงิน ท้องสีขาว ครีบหลังและครีบหางสีน้ำตาลปนเทา ปลายครีบสีชมพู
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
เป็นปลาที่กินอาหารไม่เลือก กินได้ทั้งพืช กุ้ง แมลงและตัวอ่อนของแมลง
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง