วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ข้อมูลปลาน้ำจืดที่สำคัญ



ข้อมูลปลาน้ำจืดที่สำคัญ




ชื่อไทย
กราย หางแพน ตองกราย
ชื่อสามัญ
SPOTTED FEATHERBACK
ชื่อวิทยาศาสตร์
Chitala ornata
ถิ่นอาศัย
อาศัยในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพรรณพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่เป็นฝูงเล็ก พบทั่วไปตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงขนาดใหญ่ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองจนถึงแม่น้ำโขง ภาคเหนือเรียกว่าปลาหางแพน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่าปลาตองกราย
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่มีรูปร่างแปลกกว่าปลาอื่น คือ ลำตัวด้านข้างแบนมาก ท้องแบนเป็นสันมีหนามแหลมแข็งฝังอยู่เป็นคู่ ๆ จำนวนหลายคู่ จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาเล็ก ปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังจึงโก่งสูง มีฟันเล็กและแหลมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ในวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงิน และมีจุดดวงสีดำขอบสีขาวเรียงเป็นแถวที่ฐานครีบก้น จำนวน 3-200 จุด ปลากรายชอบผุดขึ้นมาทำเสียงที่ผิวน้ำแล้วม้วนตัวกลับให้เห็นข้างสีเงินขาว
อาหารธรรมชาติ
แมลงน้ำ ลูกกุ้ง ปลาผิวน้ำตัวเล็ก ๆ เช่น กระทุงเหว เสือ ซิว และสร้อย
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ


    


ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 

ชื่อไทย
ช่อน ค้อ
ชื่อสามัญ
STRIPED SNAKE- HEAD FISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Channa striatus
ถิ่นอาศัย
แพร่กระจายตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ลักษณะทั่วไป
ลำตัวอวบกลมยาวเรียว ท่อนหางแบนข้าง หัวแบนลง เกล็ดมีขนาดใหญ่
ปากกว้างมาก มีฟันซี่เล็ก ๆ อยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังและครีบก้นยาวจนเกือบถึงโคนหาง ครีบหางกลม ลำตัวส่วนหลังสีดำ ท้องสีขาว ด้านข้างลำตัวมีลายดำพาดเฉียงลำตัว มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจจึงสามารถเคลื่อนไหว
ไปบนบกและ ฝังตัวอยู่ในโคลนได้เป็นเวลานาน ๆ
อาหารธรรมชาติ
กินเนื้อสัตว์ต่าง ๆ
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ







ที่มาของข้อมูล : กรมประมง
ชื่อไทย
ชะโด แมลงภู่ อ้ายป๊อก
ชื่อสามัญ
GIANT SNAKE - HEAD FISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Channa micropeltes
ถิ่นอาศัย
ในแม่น้ำ และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่ค่อนข้างดุ ลำตัวเรียวยาวเป็นรูปทรงกระบอก ลักษณะครีบต่าง ๆ คล้ายกับ ปลาช่อน แต่เมื่อเติบโตเต็มวัยมีขนาดใหญ่กว่า ขณะยังเป็นปลาเล็กลำตัวจะมีแถบสีเหลืองอมส้มสดใสและมีแถบสีแดงหรือส้มปรากฎให้เห็น 1 แถบ พาดตามความยาวลำตัว เมื่อปลาชะโดมีอายุมากขึ้นลายสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนดำพร้อมทั้งมีแถบสีดำ 2 แถบ เมื่อปลาความยาวลำตัว 40 - 50 ซม. แล้วแถบสีและลายต่าง ๆ ลบเลือนไป สีลำตัวของปลาก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้มเหลือบเขียวตลอดตัว
อาหารธรรมชาติ
กินสัตว์น้ำต่าง ๆ
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 

ชื่อไทย
ดุกด้าน ดุก
ชื่อสามัญ
BATRACHIAN WALKING CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Clarias batrachus
ถิ่นอาศัย
อยู่ตาม คู หนอง บึง ซึ่งเป็นน้ำนิ่ง
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ด ลำตัวเรียวยาว ด้านข้างแบน หัวเล็ก กะโหลกท้ายทอยแหลมครีบหูมีก้านครีบแข็งปลายแหลมคมขอบหยักเป็นฟันเลื่อย ทั้งด้านในและด้านนอก ครีบหลังครีบก้นและครีบหางแยกออกจากกัน ครีบหางกลมมน มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ
การสืบพันธุ์
จะเจริญพันธุ์อายุ 8-12 เดือน และวางไข่ฤดูฝน โดยพ่อแม่ปลาขุดโพรงตามรากไม้เพื่อวางไข่และพ่อแม่จะเฝ้าดูแลไข่และตัวอ่อน ไข่เป็นแบบไข่จมติดกับวัตถุสีน้ำตาลอมเหลือง ใส ขนาดไข่เล็กกว่าดุกอุยมาก
อาหารธรรมชาติ
กินสัตว์ทั้งที่มีชีวิตและซากของสัตว์
สถานภาพ
เป็นปลาเศรษฐกิจใช้เป็นอาหาร













ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
ดุกอุย
ชื่อสามัญ
GUNTHER'S WALKING CATGISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Clarias macrocephalus
ถิ่นอาศัย
มีอยู่ทั่วไปในบริเวณลำคลอง หนองบึง ซึ่งมีพรรณไม้น้ำปกคลุมและมีพื้นเป็นโคลนตม
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ด ลำตัวเรียวยาวด้านข้างแบน หัวแบนลง กะโหลกท้ายทอยป้านและโค้งมน เงี่ยงที่ครีบหูมีฟันเลื่อยด้านนอกและด้านใน ครีบหลัง ครีบก้นและครีบหางแยกออกจากกันครีบหางมีปลายกลมมน สีลำตัวมีสีดำปนเหลือง ท้องสีเหลืองจาง มีอวัยวะพิเศษอยู่ในบริเวณช่องเหงือกมีทรวดทรงคล้ายต้นไม้เล็ก ๆ ช่วยในการหายใจ
การสืบพันธุ์
เจริญพันธุ์อายุ 8เดือนขึ้นไป พ่อแม่ปลาดุกขุดแอ่งตื้น ๆ ตามท้องนา และวางไข่ติดกับรากหญ้าก้นหลุม ไข่ติด สีน้ำตาลอมแดง การฉีดฮอร์โมน อัตราฉีดตัวเมีย suprefact 20 - 30 ไมโครกรัม/กิโลกรัมร่วมกับ motilium 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตัวผู้ 15 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมร่วมกับ motilium 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยตัวเมียทิ้งไว้ 16 ชั่วโมงแล้วจึงรีด ส่วนตัวผู้ทิ้งไว้ 10 ชั่วโมงแล้วผ่าเอาน้ำเชื้อออกมาทำการผสมเทียม โดยใช้วิธีแห้งแบบดัดแปลง
อาหารธรรมชาติ
กินสัตว์ ซากพืช และซากสัตว์
สถานภาพ
เป็นปลาเศรษฐกิจที่ใช้เป็นอาหาร



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
เทโพ หูหมาด
ชื่อสามัญ
BLACK EAR CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pangasius larnaudii
ถิ่นอาศัย
แต่เดิมมีชุกชุมในลำน้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบันมีจำนวนลดน้อยลง ในภาคอีสานพบในแม่น้ำโขง ชาวบ้านเรียก ปลาหูหมาด
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายกับปลาสวาย เพราะเป็นปลาในสกุลเดียวกันมีหัวโตหน้าสั้นทู่กว่าปลาสวาย ลำตัวยาวและด้านข้างแบน นัยน์ตาค่อนข้างโตและอยู่เหนือมุมปาก ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กแหลมคมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง มีหนวดเล็กและสั้นอยู่ที่ริมปากบนและมุมปากแห่งละหนึ่งคู่ กระโดงหลังสูงและมีก้านเดี่ยวอันแรกเป็นหนามแข็ง ครีบหูมีเงี่ยงแหลมแข็งข้างละอัน มีครีบไขมันอยู่ใกล้กับโคนครีบหาง ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายเป็นแฉกลึก ลำตัวบริเวณหลังมีสีดำคล้ำหรือสีน้ำเงินปนเทา หัวสีเขียวอ่อน ท้องสีขาวเงิน มีจุดสีดำขนาดใหญ่เหนือครีบหู
การสืบพันธุ์
เจริญพันธุ์อายุ 8เดือนขึ้นไป พ่อแม่ปลาดุกขุดแอ่งตื้น ๆ ตามท้องนา และวางไข่ติดกับรากหญ้าก้นหลุม ไข่ติด สีน้ำตาลอมแดง การฉีดฮอร์โมน อัตราฉีดตัวเมีย suprefact 20 - 30 ไมโครกรัม/กิโลกรัมร่วมกับ motilium 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตัวผู้ 15 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมร่วมกับ motilium 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยตัวเมียทิ้งไว้ 16 ชั่วโมงแล้วจึงรีด ส่วนตัวผู้ทิ้งไว้ 10 ชั่วโมงแล้วผ่าเอาน้ำเชื้อออกมาทำการผสมเทียม โดยใช้วิธีแห้งแบบดัดแปลง
อาหารธรรมชาติ
กินสัตว์น้ำที่ขนาดเล็กกว่าและซากของสัตว์
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 















ชื่อไทย



เนื้ออ่อน แดง นาง
ชื่อสามัญ
WHISKER SHEATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Micronema bleekeri
ถิ่นอาศัย
มีอยู่ชุกชุมตลอดลำน้ำเจ้าพระยา ปากน้ำโพ แม่น้ำป่าสัก ในแม่น้ำโขงก็พบชุกชุม จับได้มากในฤดูน้ำลดช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม และภาคใต้พบในแม่น้ำตาปีใกล้บ้านดอน มักชอบอยู่ในบริเวณน้ำลึก ๆ
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน ไม่มีเกล็ด รูปร่างด้านข้างแบนมาก ลำตัวยาวเรียว ท่อนหางโค้งงอเล็กน้อย แต่ตอนหัวกว้าง มีหนวด 4 เส้น ไม่มีครีบหลัง ส่วนครีบไขมันก็ไม่มีเช่นกัน ครีบก้นยาวมีก้านครีบอ่อนประมาณ 80 ก้าน
อาหารธรรมชาติ
กินลูกกุ้ง หนอน แมลงและจุลินทรีย์ขนาดเล็ก
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 








ชื่อไทย
บึก ไตรราช
ชื่อสามัญ
MEKONG GIANT CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pangasianodon gigas
ถิ่นอาศัย
แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำแหล่งเดียวในโลกที่เป็นถิ่นอาศัยของปลาบึก
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาไม่มีเกล็ดหรือที่เรียกกันว่า ปลาหนัง นับเป็นปลาน้ำจืดซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ลำตัวยาวด้านข้างแบน หัวค่อนข้างเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ตามีขนาดเล็กและอยู่ในระดับเดียวกับมุมปากมีหนวดสั้นมากมีอยู่ 2 คู่ ปากเล็ก ปลาวัยอ่อนจะมีฟันอยู่บนขากรรไกร เมื่อปลาเจริญวัย ฟันจะหลุดหายไป ลำตัวมีสีเทาปนดำบริเวณหลัง ด้านท้องใต้แนวเส้นข้างตัวลงเป็นสีเหลือง ส่วนล่างสุดจะเป็นสีขาวเงิน ปลาบึกมีประวัติความเป็นมายาวนานมีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาเป็นเวลาร้อยปี โดยชาวเขมรและลาวเชื่อกันว่า ปลาบึกตัวเมียมีถิ่นอาศัยอยู่เฉพาะในทะเลสาบเขมรเท่านั้น เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะเดินทางขึ้นไปตามลำน้ำโขง ผ่านประเทศลาว ไทย พม่า ขึ้นถึงทะเลสาบตาลีในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อผสมกับตัวผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในทะเลสาบดังกล่าว ปลาบึกตัวผู้มีลักษณะพิสดารกว่าตัวเมีย คือ จะมีเกล็ดเป็นสีทอง และสิงสถิตอยู่แต่ในทะเลสาบตาลีเท่านั้น
การสืบพันธุ์
ฤดูสืบพันธุ์เริ่มต้นหลังจากสิ้นฤดูฝนและเป็นระยะที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงเริ่มลดลง ระยะนี้ปลาบึกที่หากินบริเวณแม่น้ำโขงตอนล่างจะอพยพขึ้นสู่ตอนบนเพื่อวางไข่ผสมพันธุ์ การผสมพันธุ์เริ่มโดยตัวเมียจะลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ แล้วค่อยๆตะแคงข้างและหงายท้องขึ้น จากนั้นตัวผู้จะลอยตามขึ้นมา และคอยจังหวะเลื่อนตัวขึ้นทับตัวเมีย แล้วจะจมสู่ก้นน้ำพร้อมกัน ทำอยู่อย่างนี้หลายครั้งจนกว่าตัวเมียจะปล่อยไข่หมด แล้วจะไม่โผล่ขึ้นมาให้เห็นอีก หรือเพาะพันธุ์โดยการผสมเทียมก็ได้
อาหารธรรมชาติ
กินตะไคร่น้ำ ลูกปลาวัยอ่อน กินไรน้ำ ลูกปลาขนาดเล็ก
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ







ชื่อไทย
บู่ทราย บู่จาก บู่ทอง บู่เอื้อย บู่สิงโต
ชื่อสามัญ
MARBLED SLEEPY GOBY, SAND GOBY
ชื่อวิทยาศาสตร์
Oxyeleotris marmoratus
ถิ่นอาศัย
พบแพร่กระจายอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง บึง ทั่วทุกภาคของประเทศไทยในปัจจุบัน
มีผู้นิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้ในกระชังที่แขวนลอยอยู่ในแม่น้ำทางแถบจังหวัดอุทัยธานีนครสวรรค์ และอยุธยา
ลักษณะทั่วไป
ลำตัวค่อนข้างกลม ส่วนหางค่อนข้างแบน ปากกว้างเฉียงขึ้นข้างบนเล็กน้อย
นัยน์ตาเล็กโปนกลมตั้งอยู่ค่อนไปทางบริเวณส่วนหัว ถัดริมปากเล็กน้อยมีรู
จมูกคู่หน้าเป็นหลอดยื่นขึ้นมาติดกับร่องเหนือริมปาก ครีบหลังมีสองอัน ครีบหางกลมมน เคลื่อนไหวช้าในระดับกลางน้ำแต่จะปราดเปรียวเมื่ออยู่บนพื้นดินก้นแหล่งน้ำ
และสามารถหยุดการเคลื่อนไหวได้อย่างกะทันหัน ตามปกติแล้วในตอนกลาง
วันปลาบู่จะทรงตัวนิ่งไม่เคลื่อนไหว ทำให้บางท่านเข้าใจว่าปลาหลับ โดยปกติปลาบู่ทรายจะฝังตัวอยู่ในพื้นโคลนหรือพื้นทราย
การสืบพันธุ์
ปลาบู่ตัวผู้จะหาสถานที่ในการวางไข่ได้แก่ ตอไม้ เสาไม้ ทางมะพร้าว ฯลฯ แล้วทำความสะอาดวัสดุดังกล่าว หลังจากนั้นตัวผู้จะเข้าเกี้ยวพาราสีพร้อมไล่ต้อนตัวเมียให้ไป
ที่เตรียมไว้เพื่อการวางไข่ โดยธรรมชาติแล้วปลาบู่มีการจับคู่ผสมกันเป็นคู่ไม่เหมือนกับ
ปลาตะเพียนที่ไล่ผสมพันธุ์กันเป็นหมู่ ปลาบู่ส่วนใหญ่เริ่มมีการ
ผสมพันธุ์ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง แล้วแต่ความพร้อมของคู่ผสม
ตั้งแต่ตอนค่ำจนถึงเช้ามืด ธรรมชาติของปลาบู่นั้นผสมพันธุ์แบบภายนอกตัวปลา คือ ตัวเมียปล่อยไข่ออกมาติดกับวัสดุแล้วตัวผู้ปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสม
โดยที่ไข่ปลาบู่จะติดกับตอไม้ เสาไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่ปลาบู่สามารถวางไข่ติด และตัวผู้จะเฝ้าดูแลไข่โดยใช้ครีบหูหรือครีบหางพัดโบกไปมา ไข่ที่ได้รับการผสมจะเป็นตัวภายในเวลา 28 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 25-27 องศาเซลเซียส
อาหารธรรมชาติ
กินลูกกุ้ง ลูกปลาและหอย เป็นปลากินจุ สามารถกินอาหารหนักเท่ากับน้ำหนักของมันต่อวันและทุก ๆ วัน
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ











ที่มาของข้อมูล : กรมประมง
ชื่อไทย
ยี่สก เสือ
ชื่อสามัญ
JULLIEN'S GOLDEN - PRICE CARP
ชื่อวิทยาศาสตร์
Probarbus jullieni
ถิ่นอาศัย
อยู่ตามแม่น้ำที่พื้นเป็นกรวด หินหรือทรายที่จังหวัดหนองคาย ในฤดูวางไข่จะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ฝูงละ 30 - 40 ตัว บริเวณที่วางไข่อยู่ท้ายเกาะกลางแม่น้ำโขง ก่อนวางไข่พ่อแม่ปลาจะไล่กันเสียงดัง ชาวบ้านเรียกว่า "ปลาบ้อน" การผสมพันธุ์เรียกว่า ปลาถือกัน ฤดูวางไข่ตกราวเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ สำหรับในจังหวัดเชียงราย ชาวประมงแถบอำเภอเชียงของเรียกชนิดนี้ว่า ปลาเสือพบในแม่น้ำสายใหญ่ๆ ของไทย และยังพบที่แม่น้ำปาหังของมาเลเซีย
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน แต่เดิมเชื่อกันว่าถิ่นที่อยู่อาศัยของปลาชนิดนี้มีเฉพาะแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำป่าสักและแควน้อย จากการสำรวจพบว่า มีปลายี่สกอาศัยอยู่ในแม่น้ำอื่นอีก แต่เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น พบในแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคายเรียกว่า ปลาเอินที่จังหวัดเลยเรียกว่า ปลาชะเอินปลายี่สกมีรูปร่างเพรียวในปลาขนาดเล็ก หัวค่อนข้างโตแต่ลำตัวจะอ้วนป้อมในปลาที่โตเต็มที่ มีหนวดสั้น 2 คู่ ปากเล็กยืดหดได้อยู่คล้อยลงมาใต้ส่วนหัว ลำตัวสีเหลืองทอง ด้านท้องสีจาง มีแถบสีดำพาดตามแนวยาวบนลำตัว 4-5 แถบ แถบสีดำเหล่านี้จะพาดอยู่ระหว่างรอยต่อของเกล็ด ตาสีแดงครีบทุกครีบสีชมพู ในฤดูผสมพันธุ์จะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำอมม่วง ครีบมีสีคล้ำ ครีบหลังสูงเป็นก้านแข็งที่อันแรก ครีบหางใหญ่เว้าลึก เกล็ดขนาดใหญ่
การสืบพันธุ์
ในธรรมชาติปลายี่สกเป็นปลาที่วางไข่รวมกันเป็นฝูง เมื่อถึงฤดูวางไข่ ปลาจะมารวมกันเป็นฝูงเพื่อจับคู่ในบริเวณที่มีกระแสน้ำไหลแรง มีแก่งหินอยู่ใต้น้ำ เมื่อจับคู่ได้แล้ว จะออกไปผสมพันธุ์และวางไข่ในบริเวณที่มีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 0.5 - 2.0 เมตร กระแสน้ำไม่แรงนัก ชาวบ้านในภาคอีสานเรียกว่า "บุ่ง" ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแหล่งที่รวมฝูงกันมากนัก โดยปลาจะวางไข่ในเวลาพลบค่ำ สามารถสังเกตได้จากพ่อแม่ปลาขึ้นมาผสมพันธุ์บริเวณผิวน้ำ ทำให้ชาวประมงสามารถจับได้โดยง่าย ปลายี่สกในจังหวัดกาญจนบุรีและราชบุรีจะวางไข่ช่วงเดือน ธค .- มค. ส่วนในแม่น้ำโขงเริ่มตั้งแต่เดือน ธค .- มีค. โดยระยะที่วางไข่มากที่สุดอยู่ในเดือน กพ.
อาหารธรรมชาติ
กินหอยและตัวอ่อนแมลงน้ำที่อยู่บริเวณพื้นดิน
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 



ชื่อไทย
ลิ้นหมา ยอดม่วงน้ำจืด
ชื่อสามัญ
FRESHWATER TONGUEFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cynoglossus microlepis
ถิ่นอาศัย
พบตามแม่น้ำสายต่าง ๆ ในภาคกลาง
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดซึ่งมีรูปร่างแบนบางคล้ายใบไม้ตาทั้งสองอยู่บนซีกลำตัวด้านเดียวกันจึงมีชื่อเรียกกันว่า ปลาซีกเดียวทั้งนี้เกิดจากการพัฒนาและปรับตัวของปลา เพื่อให้เหมาะสมกับการดำรงชีพ ปลาชนิดนี้วัยอ่อนจะมีลำตัวซีกซ้ายและขวาเท่ากัน เมื่อเจริญเติบโตขึ้นรูปร่างของมันจะเปลี่ยนไปดังที่พบเห็นทั่วไป ปลาลิ้นหมามีหัวเล็ก ปากโค้งเป็นรูปเดียว นัยน์ตาทั้งสองข้างอยู่ติดริมปากบน ครีบหลังครีบหางและครีบก้นเชื่อมติดกัน ครีบหางเล็กปลายเรียวแหลม ลำตัวซีกซ้ายเป็นสีน้ำตาล ซีกขวาสีขาวซึ่งใช้ยึดเกาะติดกับก้อนหินและโคลนตมตามพื้นดินบริเวณที่มีระดับน้ำลึก
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
กินตัวอ่อนแมลง หนอนที่อาศัยอยู่ตามดินโคลน
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
สร้อยเกล็ดถี่ เรียงเกล็ด นางเกล็ด
ชื่อสามัญ
WHITELADY CARP
ชื่อวิทยาศาสตร์
Thynnicnthys thynnoides
ถิ่นอาศัย
พบมากในแม่น้ำลำคลองและในแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งแม่น้ำทางภาคเหนือของประเทศไทย ชอบรวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณกลุ่มละ 8 - 10 ตัว
ลักษณะทั่วไป
ลำตัวยาวเรียว รูปร่างคล้ายกับปลาลิ่น เกล็ดมีขนาดเล็ก บางและหลุดง่าย สีของเกล็ดมีสีขาวเงิน เป็นประกายเมื่อถูกแสงสว่าง เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะเหมือนกัน
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
ชอบกินแมลงน้ำ ตะไคร่น้ำ และตัวอ่อนของแมลงน้ำ
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
สลาด ฉลาด ตอง หางแพน วาง
ชื่อสามัญ
GREY FEATHER BACK
ชื่อวิทยาศาสตร์
Notopterus notopterus
ถิ่นอาศัย
พบตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงและอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและสะอาด มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่พบ เช่น ภาคเหนือเรียก หางแพนแต่ชาวแม่ฮ่องสอนเรียกว่า ปลาวางภาคอีสานมีชื่อว่า ปลาตอง
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดซึ่งมีรูปร่างเหมือนปลากรายแต่มีขนาดเล็กกว่า ลักษณะแตกต่างที่เด่นชัด คือ ปลาสลาดไม่มีจุดสีดำเหนือครีบก้นเหมือนอย่างปลากราย ปลาสลาดมีลำตัวเป็นสีขาวเงินปนเทา ปากกว้างไม่เกินขอบหลังของลูกตา ครีบหลังและครีบอกมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบก้นและครีบหางเชื่อมติดกันเป็นแผ่นเดียวกัน
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
กินลูกกุ้ง ลูกปลาและแมลงน้ำ
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 




ชื่อไทย
สลิด ใบไม้
ชื่อสามัญ
SNAKE SKIN GOURAMI
ชื่อวิทยาศาสตร์
Trichogaster pectoralis
ถิ่นอาศัย
พบในแหล่งน้ำนิ่งตามหนองบึง และที่ลุ่มภาคกลาง ในอดีตดอนกำยานจังหวัดสุพรรณบุรี เคยเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นแหล่งที่มีปลาสลิดชุกชุมและเนื้อมีรสชาติดียิ่งนัก ปัจจุบันมีการเลี้ยงกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ในเขตจังหวัดสมุทรปราการและฉะเชิงเทรา
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่มีลำตัวแบนข้าง รูปร่างคล้ายกับใบไม้และเหมือนกับปลากระดี่หม้อแต่ไม่มีจุดดำบนลำตัว มีแถบเป็นสีดำพาดขวางลำตัวเป็นริ้ว ๆ หลายแถบ ตัวผู้จะมีสีและแถบเข้มกว่าปลาตัวเมีย ลักษณะของครีบหลังก็สามารถใช้แยกเพศได้เหมือนกัน คือ ปลาตัวผู้มีกระโดงหลังยาวกว่าตัวเมีย
การสืบพันธุ์
วางไข่ในน้ำนิ่ง ในการวางไข่ตัวผู้จะเลือกสถานที่สำหรับก่อหวอด โดยการเลือกบริเวณที่มีพรรณไม้น้ำขึ้นไม่หนาแน่นมากนักเป็นที่มีร่มเงาพอสมควร เมื่อได้ที่เหมาะสมแล้วตัวผู้จะใช้ครีบหางพัดโบกเพื่อให้พรรณไม้น้ำขยายวงออกเกิดเป็นที่ว่าง แล้วจะฮุบเอาอากาศเข้าไปผสมกับน้ำเมือกในปาก และพ่นออกมาเป็นฟองอากาศ ซึ่งฟองเกาะกันเป็นกลุ่มอยู่ในบริเวณที่ว่างดังกล่าว หวอดจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร และนูนขึ้นจากผิวน้ำประมาณ 2 เซนติเมตร ปลาเพศผู้จะเริ่มก่อหวอดตั้งแต่ตอนบ่าย และตอนสายของวันต่อมาจึงเริ่มทำการผสมพันธุ์ โดยตัวผู้ 1 ตัวจะผสมพันธุ์กับตัวเมีย 1 ตัว เท่านั้น ในการผสมพันธุ์ตัวผู้และตัวเมียจะรัดกันอยู่บริเวณใต้หวอดประมาณ 30 เซนติเมตร เมื่อวางไข่เสร็จตัวผู้จะคอยไล่กัดตัวเมียให้ออกไปจากบริเวณหวอด และทำหน้าที่ระวังไข่เองจนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัว
อาหารธรรมชาติ
กินแมลงน้ำตัวอ่อน ลูกน้ำ ลูกไร ตะไคร่น้ำ และแพลงก์ตอน
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
หมอช้างเหยียบ หมอโค้ว ก๋า
ชื่อสามัญ
STRIPED TIGER NANDID
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pristolepis fasciatus
ถิ่นอาศัย
ตามแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง
ลักษณะทั่วไป
รูปร่างป้อมสั้น ลำตัวด้านข้างแบน หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กและอยู่ปลายสุด นัยน์ตาเล็ก มีเกล็ดขนาดเล็กที่หัวและลำตัว ครีบหลังยาว ส่วนที่เป็นก้านเดี่ยวเป็นหนามแข็งและแหลมคม ครีบก้นมีหนามแหลมคม ส่วนที่อ่อนมีขนาดใกล้เคียงกับส่วนอ่อนของครีบหาง ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายมน สีโดยทั่วไปของหัวและลำตัวเป็นสีเหลืองแกมเขียว หรือสีเหลืองปนน้ำตาล
การสืบพันธุ์
เพาะพันธุ์โดยการฉีดฮอร์โมนแล้วผสมเทียมหรือฉีดฮอร์โมนแล้วปล่อยให้รัดกันเอง
อาหารธรรมชาติ
กินไข่ปลาทุกชนิด ลูกกุ้ง ลูกปลาและแมลงน้ำ
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
หมอ สะเด็ด เข็ง
ชื่อสามัญ
COMMON CLIMBING PERCH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Anabas testudineus
ถิ่นอาศัย
แพร่กระจายทั่วทุกภาคของประเทศภาคเหนือเรียก ปลาสะเด็ดภาคอีสานเรียก ปลาเข็ง
ลักษณะทั่วไป
รูปร่างป้อม ลำตัวด้านข้างแบน หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาค่อนข้างเล็กกอยู่ใกล้ปลายจมูก ปากค่อนข้างแคบอยู่ปลายสุด กระดูกขอบกระพุ้งเหงือกหยักเป็นฟันเลื่อยแหลมแข็ง ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า เหงือกปลาหมอ อวัยวะส่วนนี้ใช้ในการเคลื่อนไหวไปบนบก ครีบหลังยาว ส่วนที่หนามแข็งยาวกว่าส่วนที่เป็นก้านครีบอ่อน ครีบก้นค่อนข้างยาว ครีบหางตัดตรงขอบมนเล็กน้อย สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลปนเหลือง ด้านท้องสีจางกว่า มีจุดดำขนาดเท่าเกล็ดประอยู่บนหัวและลำตัว ครีบทุกครีบสีเหลืองปนดำ มีอวัยวะช่วยหายใจอยู่ในปาก ทำให้ปลาหมอสามารถอยู่บนบกได้นาน ๆ
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
กินลูกปลา ลูกกุ้ง แมลง ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 




ชื่อไทย
หมูขาว
ชื่อสามัญ
Yellow - Tail botia
ชื่อวิทยาศาสตร์
Botia modesta
ถิ่นอาศัย
-
ลักษณะทั่วไป
ปลาหมูขาวมีลักษณะลำตัวจากปลายจะงอยปากถึงโคนครีบหางเป็น 2.5 - 2.9 เท่าของความกว้างลำตัว ลำตัวเป็นสีเทาหรือเทาอมเขียว บริเวณด้านหลังสีเข้มกว่าลำตัว ด้านท้องสีอ่อนหรือขาว บริเวณโคนหางมีจุดสีดำ จะงอยปากค่อนข้างยาว ปลายจะงอยปากมีหนวด 2 คู่ และมุมปากมีหนวดอีก 1 คู่ ปากอยู่ปลายสุดและอยู่ในระดับต่ำ ส่วนหัวมีหนามแหลมปลายแยกเป็น 2 แฉก ครีบทุกครีบไม่มีก้าน ครีบแข็ง ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีสีเหลืองจนถึงสีส้มหรือแดง เฉพาะครีบหางจะมีสีสดกว่าครีบอื่น ๆ ครีบอกและครีบท้องมีสีเหลืองจาง ครีบหลังมีจำนวนก้านครีบ 9 อัน ครีบก้น 8 อัน ครีบอก 12 - 15 อัน และครีบท้อง 7 - 9 อัน ปลาหมูขาวมีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลปลาหมูที่พบในประเทศไทย เท่าที่เคยพบมีขนาด 23.5 เซนติเมตร แต่ขนาดที่พบโดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย 10 - 25 เซนติเมตร ลักษณะของลูกปลาหมูขาวขนาดเล็กจะแตกต่างกับปลาชนิดอื่นๆ คือ ส่วนหลังจะโค้งลาดเหมือนพ่อแม่ปลา และบริเวณกลางลำตัวจะมีลักษณะสีดำทอดไปตามความยาวของตัวปลา เมื่ออายุได้ 45 - 60 วัน และแถบสีดำที่พาดขวางลำตัวจะหายไปเมื่อลูกปลาโตขึ้นหรือมีอายุประมาณ 5 เดือน บุญยืนและวัฒนา (2533)
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
ตัวอ่อนของแมลงในน้ำ ตัวหนอน สัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นๆ และซากสัตว์
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
หลด หลดจุด
ชื่อสามัญ
SPOTTED SPINY EEL
ชื่อวิทยาศาสตร์
Macrognathus siamensis
ถิ่นอาศัย
พบตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองและบึง ชอบฝังตัวในดินโคลนหรือบริเวณที่มีใบไม้เน่าเปื่อย
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดอยู่ในวงศ์ปลากระทิง มีรูปร่างคล้ายคลึงกับปลากระทิงแต่ปลาหลดมีขนาดเล็กกว่า ลำตัวยาวเรียว ด้านข้างแบน หัวเล็ก จะงอยปากเรียวแหลมและที่ปลายมีหนวดที่สั้นอยู่ 1 คู่ ปากเล็กและอยู่ใต้ ตาเล็ก ครีบเล็กปลายกลม ครีบหลังและครีบก้นยาวมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบหางมีขนาดเล็กปลายกลมมน ไม่มีครีบท้อง หลังมีสีน้ำตาล ท้องมีสีน้ำตาลอ่อนปนเหลือง มีจุดสีดำที่ครีบหลัง 3 - 5 จุด บางตัวมีจุดดำที่โคนหางหนึ่งจุด
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
กินสัตว์เล็ก เช่น ไส้เดือน ตัวอ่อนของแมลงและเนื้อสัตว์ที่เน่าเปื่อย
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
ไหล ไหลนา เหยี่ยน
ชื่อสามัญ
SWAMP EEL
ชื่อวิทยาศาสตร์
Monopterus albus
ถิ่นอาศัย
พบตามหนอง บึง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำนิ่ง อาจจะพบในนาข้าว ร่องสวนในบริเวณที่เป็นโคลนเลน
ลักษณะทั่วไป
มีรูปร่างคล้ายงู ปลาไหลเป็นปลาที่มีสองเพศในตัวเดียวกัน ขนาดเล็กจะเป็นเพศผู้และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นเพศเมีย ก่อนวางไข่ปลาจะสร้างหวอด โดยใช้น้ำลายพ่นกับอากาศเป็นฟองเล็ก ๆ เกาะกันเป็นกลุ่ม ปลาไหลใช้ปากดูดไข่ที่ได้รับการผสมเชื้อแล้วพ่นติดกันกับหวอด และจะเฝ้าดูแลไข่ของมันจนกระทั่งฟักเป็นตัว
การสืบพันธุ์
ก่อนที่ปลาไหลจะมีการวางไข่จะก่อหวอดบริเวณเหนือรูที่ขุดไว้ ช่วงนี้ปลาจะดุมาก ก่อหวอดประมาณ 1 - 2 วันจึงวางไข่ ลักษณะหวอดสีขาวขุ่น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร หวอดไม่เหนียวมาก แม่ปลาวางไข่ตอนกลางคืน ไข่ของปลาไหลจะติดอยู่ใต้หวอดและกระจายอยู่ตามพื้น แม่ปลาจะคอยพ่นน้ำจากรูตลอดเวลา ลักษณะไข่มีสีเหลืองทอง ผนังไข่หนามาก ขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร
อาหารธรรมชาติ
กินทั้งสัตว์ที่มีชีวิต และซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 



















ชื่อไทย


ตะเพียน
ชื่อสามัญ
THAI SILVER BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์
Puntius gonionotus
ถิ่นอาศัย
พบตามแหล่งน้ำไหล และน้ำนิ่งทั้งในภาคกลาง ภาคเหนือและภาคอีสาน
ลักษณะทั่วไป
ปลาตะเพียนมีลำตัวค่อนข้างป้อมแบนข้าง เกล็ดใหญ่ หัวเล็ก ปากเล็กอยู่หน้าสุด ลักษณะ แตกต่างจากปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน คือ ตะเพียนขาวมีก้านครีบอ่อนของครีบก้นอยู่จำนวน 6 ก้าน ชนิดอื่น ๆ มี 5 ก้าน สีของลำตัวเป็นสีเขียวอมฟ้าด้านหลังสีน้ำตาลปนเทา ท้องสีขาวเงิน ครีบก้นสีเหลืองปนส้ม ครีบอื่นๆ สีซีดจาง เป็นปลาที่ปราดเปรียวว่ายน้ำเร็ว เมื่อตกใจจะกระโดดได้สูงมาก
การสืบพันธุ์
วางไข่แบบฝูง (schooling fertilization) จะว่างทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ต้นน้ำตามบริเวณฝั่งของ ลำธารเล็กๆ ที่ไหลมารวมกับลำธารใหญ่ซึ่งมีสภาพเป็นโคลน การผสมพันธุ์โดยพ่อแม่ปลาจะรวมกันเป็นฝูงใหญ่
อาหารธรรมชาติ
กินพืช เมล็ดพืชตระกูลหญ้าโดยเฉพาะข้าว สาหร่าย ตะไคร่น้ำ ซากสัตว์ และพืชที่เน่าเปื่อย แพลงก์ตอน ไรน้ำ
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
ตะเพียนทราย
ชื่อสามัญ
GOLDEN LITTLE BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์
Puntius brevis
ถิ่นอาศัย
พบทั่วไปในแหล่งน้ำไหลและน้ำนิ่งตามแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก รูปร่างและสีสันคล้ายปลาตะเพียนขาวที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวยาวเรียว แบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโตอยู่ใกล้กับจมูก ปากเล็กอยู่ปลายสุดมีหนวดเล็กและสั้น 2 คู่ อยู่ที่ริมปากบนและมุมปาก เกล็ดกลมมน สีของสันหลังเป็นสีเทาปนดำ ข้างลำตัวสีส้มจาง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสีเหลืองจาง ขึ้นอยู่กับสภาพสีของน้ำและสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่ ท้องสีขาวเงินครีบหลังสีเทาอ่อน มีแถบสีดำจางหนึ่งแถบพาดตามความยาวของครีบ ปลายแฉกบนครีบหางมีแถบดำจาง ๆ
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
กินต้นอ่อนของพืช แมลงน้ำ ลูกน้ำ ไรน้ำ
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
ตะเพียนทอง
ชื่อสามัญ
RED - TAIL TINFOIL BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์
Barbodes altus
ถิ่นอาศัย
มีอยู่ทั่วไปในน่านน้ำจืด และบางทีก็เจ้าไปอาศัยอยู่ในลำคลอง หนองและบึงต่าง ๆ และมีชุกชุมมากในภาคกลาง
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่มีสีสันสวยงามมาก ลำตัวเป็นสีเงินหรือสีทอง ครีบท้องเป็นสีเหลืองส้มสลับแดง หางเป็นสีเหลือง ขอบหางเป็นสีแดงส้ม กระโดงหลังสีแดงหรือสีส้ม ปลายครีบสีดำมีขอบสีขาวมีความว่องไวและปราดเปรียวเหมือนปลาตะเพียนขาว อยู่รวมกันเป็นฝูงหากินและ วนเวียนอยู่ตามผิวน้ำ
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
กินพืชน้ำและสาหร่ายขนาดเล็ก
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
สวาย
ชื่อสามัญ
STRIPED CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pangasianodon hypophthalmus
ถิ่นอาศัย
พบเห็นตามแม่น้ำลำคลอง ในที่ร่มใกล้พืชพรรณไม้น้ำ หรือบริเวณใต้แพกร่ำ หรือใต้กอผักตบชวานับแต่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาไปจนถึงจังหวัดนครสวรรค์และในลำน้ำโขง
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด ชอบอยู่รวมฝูง อยู่ในสกุลเดียวกับปลาเทโพ มีรูปร่างลักษณะและขนาดตลอดจนถึงความเป็นอยู่คล้ายปลาเทโพ ลำตัวเรียวยาว ด้านข้างมีสัณฐานอวบกลม มีสันหลังค่อนข้างตรง ส่วนหน้าจะลาดลงไปจนถึงบริเวณปาก หน้าทู่ ปากกว้าง มีหนวดสั้น 2 คู่ ลำตัวมีสีนวลขาวบริเวณหลังมีสีหม่นเข้ม บริเวณครีบจะมีสีเหลืองอ่อน แต่ปลายหางครีบหลังและครีบอกจะมีสีค่อนข้างหม่น ปลาสวายขนาดเล็กจะมีแถบสีดำพาดตามลำตัว
การสืบพันธุ์
ปลาสวายจะมีไข่แบบจมติดกับวัตถุ เพาะพันธุ์โดยการฉีดฮอร์โมน หลังฉีดฮอร์โมน 12 ชั่วโมง ทำการผสมเทียม โดยใช้วิธีแห้งแบบดัดแปลง
อาหารธรรมชาติ
กินซากสัตว์และซากพืชที่เน่าเปื่อยรวมทั้งวัชพืช ลูกหอย หนอน ไส้เดือน
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
หมอเทศ
ชื่อสามัญ
JAVATILAPIA
ชื่อวิทยาศาสตร์
Oreochromis mossambica
ถิ่นอาศัย
ในแม่น้ำ ทะเลสาบ เดิมถิ่นกำเนิดในทวีปอัฟริกา
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่นำเข้ามาเลี้ยงในประเทศ มีรูปร่างคล้ายปลาหมอไทย แต่ส่วนของลำตัวและหัวใหญ่กว่า จะงอยปากค่อนข้างยาว ปากกว้าง ริมปากหนา ขากรรไกรล่างยาวกว่าขากรรไกรบน ครีบหลังยาวและสูง ส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งยาวกว่าส่วนก้านครีบอ่อนมาก ครีบก้นยาว ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายมน ครีบท้องอยู่ใกล้ครีบหูมีขนาดใกล้เคียงกัน ด้านหลังมีสีเทาปนดำ ข้างตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ท้องเหลืองจาง ๆ ตัวผู้มีขนาดใหญ่น้ำเงินปนดำ ตัวเมียเล็กกว่าและสีซีดจาง ในการผสมพันธุ์วางไข่ ตัวเมียฟักไข่ด้วยปาก
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
กินพืชน้ำ สาหร่าย ซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
สร้อยขาว สร้อยหัวกลม สร้อย
ชื่อสามัญ
JULLIEN'S MUD CARP
ชื่อวิทยาศาสตร์
Henicorhynchus siamensis
ถิ่นอาศัย
มีอยู่ทั่วไปตามแม่น้ำลำคลองและหนองบึงทั่วทุกภาคของประเทศ
ลักษณะทั่วไป
ลำตัวยาวเพรียว แบนข้าง ปากมีขนาดเล็ก กึ่งกลางของริมปากล่างมีปุ่มกระดูกยื่นออกมา ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปลาในสกุลนี้ ไม่มีหนวด ตามปกติปลาชนิดนี้จะหากินรวมเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีจำนวนไม่มากนัก เมื่อถึงฤดูฝนปลาจะรวมตัวกันฝูงใหญ่ ๆ เพื่ออพยพออกหนองบึงไปหาที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์วางไข่ อันได้แก่บริเวณทุ่งนาและที่ลุ่มซึ่งมีน้ำฝนท่วมขังอยู่ ลูกปลาจะหาอาหารเลี้ยงตัวและเจริญเติบโตอยู่ในแหล่งน้ำเหล่านั้น ครั้นถึงปลายฤดูหนาว น้ำเริ่มแห้งขอดลง ปลาสร้อยก็จะเดินทางออกจากแหล่งหากินลงสู่แม่น้ำลำคลอง และรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ลอยหัวอยู่ตามผิวน้ำ ในช่วงนี้จะจับปลาสร้อยได้ครั้งละมาก ๆ สาเหตุที่ทำให้ปลาลอยตัวอยู่ตามผิวน้ำนั้น อาจจะเป็นเพราะออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำมีปริมาณค่อนข้างต่ำ ทำให้ปลาต้องขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำ อาการเช่นนี้ ชาวประมง เรียกว่า "ปลาเมาน้ำ"
การสืบพันธุ์
ช่วงฤดูผสมพันธุ์และวางไข่แตกต่างกันไปตามสถานที่และปัจจัยทางสภาพแวดล้อม มีไข่แบบครึ่งลอยครึ่งจม วางไข่บริเวณที่มีกระแสน้ำไหล โดยจะอพยพเป็นฝูงทวนกระแสน้ำไปวางไข่บริเวณลำน้ำหรือต้นน้ำ ขณะที่ปลาผสมพันธุ์จะมีการส่งเสียงร้องซึ่งสามารถได้ยินอย่างชัดเจน
อาหารธรรมชาติ
กินพวกพืชน้ำและแมลงน้ำ
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
สังกะวาดเหลือง
ชื่อสามัญ
SIAMENSIS PANGASIUS
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pangasius macronema
ถิ่นอาศัย
อยู่ในแหล่งน้ำไหลเป็นส่วนใหญ่จะพบเห็นได้บ้างตามหนองและบึง แต่มีจำนวนไม่มากนัก มีอยู่ชุกชุมในภาคกลาง บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มประมาณกลุ่มละสิบตัว รูปร่างคล้ายปลาสวาย แต่มีขนาดเล็ก ลำตัวยาวเรียวและมีหนวดยาว โดยเฉพาะหนวดคู่ที่มุมปากปลายหนวดยาวเลยฐานของครีบท้อง ชอบหากินอยู่ตามผิวน้ำ ลำตัวยาวเรียวว่ายน้ำได้รวดเร็วและปราดเปรียว ลำตัวมีสีขาว ด้านสันหลังเป็นสีเทาคล้ำครีบหามีแถบสีดำ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะภายนอกเหมือนกัน
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
ชอบกินซากของพืชและซากของสัตว์ที่เน่าเปื่อย รวมทั้งผลไม้สุกงอมที่เน่าเปื่อย
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 





ชื่อไทย
นวลจันทร์น้ำจืด
ชื่อสามัญ
SMALL SCALE MUD CARP
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cirrhina microlepis
ถิ่นอาศัย
อยู่ตามแม่น้ำใหญ่ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่อยุธยาขึ้นไปถึงนครสวรรค์ จนถึงบึงบอระเพ็ด ปัจจุบันไม่พบแล้วในแม่น้ำเจ้าพระยา ทางภาคอีสานพบมากในลำน้ำโขง ชาวประมงบริเวณริมโขงแถบจังหวัดอุบลราชธานีเรียกปลาตัวนี้ว่า "ปลานกเขา" ส่วนชื่อ"นวลจันทร์"หรือ "นวลจันทร์น้ำจืด" เป็นชื่อเรียกที่ใช้เรียกกันในภาคกลาง
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน รูปร่างเพรียวยาว ลำตัวค่อนข้างกลม ปากเล็กเกล็ดเล็ก สีของลำตัวมีตั้งแต่สีส้มปนเทาจนถึงสีน้ำตาลปนสีขาวเงิน ท้องสีขาว ครีบหลังและครีบหางสีน้ำตาลปนเทา ปลายครีบสีชมพู
การสืบพันธุ์
-
อาหารธรรมชาติ
เป็นปลาที่กินอาหารไม่เลือก กินได้ทั้งพืช กุ้ง แมลงและตัวอ่อนของแมลง
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ที่มาของข้อมูล : กรมประมง 

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ30 มกราคม 2565 เวลา 22:07

    The Merit Casino Review: $100 Welcome Bonus in December
    The Merit Casino is a งานออนไลน์ safe place for players to play and win real money. Play online casino games 메리트 카지노 in our 인카지노 review. It is an excellent choice for

    ตอบลบ